การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวม เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 Model of Learning Management of Technique of Phonic and Whole Language to Enhance English Oral Reading Skill for Prathomsuksa 1 Students
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) . เพื่อประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวม เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านทวดทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 จำนวน 35 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวม เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบค่าที (t – test for dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ผลการพัฒนาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ คือ 1. ขั้นนำเสนอสื่อ (Preparation) 2. ขั้นสอนเนื้อหา ( Read) ขั้นฝึก(Independent Reading) 4. ขั้นแสดงออกทางภาษา (Multi-expressing) 5. ขั้นประเมิน( Evaluation)
- 2. ผลการประเมินทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- 3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสานเทคนิคโฟนิกส์และการสอนภาษาแบบองค์รวมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
Inthira Sriprasit. Thai children are addicted to the game because they are not able to read
English. Form http//www.saijai.net/frontEnd/newsHtml.jsp?=reading.
Joyce, B. R. and M. Weil. Models of Teaching. 2nd ed. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-
Hall, 1980.
Keeves, J.P. 1997. Models and model building. In Keeves, J.P. (ed.) Educational
research. Methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed.,
Oxford : Peraman Press.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Khru Spha
Printing House, Ladprao. (in Thai)
Murdoch, George S. (1986). “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading,”
English Teaching Forum 34, 1 (January): 9-15.
Suchada Inmee (2013,September-December)."Development of phonics with posters of
Prathom 3 students" Academic. 6 (3): 141. (in Thai)
Than Na Khaemmanee. (2007). Teaching styles, various media options. Bangkok:
Chulalongkorn University. (in Thai)
Wirot Sararattana. (2013). New paradigm of education: the case of attitudes towards 21st
century education. Bangkok: Thippawisut. (in Thai)