การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5A Study Effect of Inquiry-Based Learning with Computer Assisted Instruction on Learning Achievement in Chemistry and Satisfaction for Grade 11 Students

Main Article Content

กชนนท์ ขวัญพุฒ
ภัทรภร ชัยประเสริฐ
ธนะวัฒน์ วรรณประภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแสนสุข ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน      42 คน เป็นกลุ่มทดลอง และอีกกลุ่มจำนวน 41 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาเคมี (CAI) เรื่อง ธาตุและสารประกอบอนินทรีย์ในอุตสาหกรรม มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.98/81.90 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anegasukha, S. (2010). Research Method in Behavioral and Social Sciences. Chonburi: Burapha University, Faculty of Education, Department of Research and Applied Psychology. (in Thai)

Bunphit, A. (2013). Development of computer-assisted instruction on acid-base for the 5th grade high school students. (Master of Science). Walailak University, Science Education. (in Thai)

Chang, R. (2012). Chemistry 1: Chemistry 10/e (Thaweechai Amonsukchai, Yutthana Tanteeroongrojchai, Tinnakorn Tiensing and Phonsawan Amonsukchai, Translation). Bangkok: McGraw-Hill.

Dechakhup, P. (2002). Science Teaching Behavior. Bangkok: Institute of Academic Development. (in Thai)

Khanawong, W. (2011). The Effects computer Assisted Instruction via the Internet in Organic Chemistry on the Topic of Hydrocarbon Compounds on Learning Achievement and Learning Retention of First Year Students at Rachamagala University of Technology Tawan-Ok in Chanthaburi Province. (Master of Education). Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Laohacharatsaeng, T. T. (1998). Computer Assisted Instruction. Bangkok: Wongkamon. (in Thai)

Limtasiri, O. (2013). Innovation and Technology for Learning Management CLM 6607 (TL 715). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

Munkham, S. and Munkham, O . (2003). 21 Learning Management: For Development of Thinking Process (4th ed.). Bangkok: Parbpim. (in Thai)

Munsadaeng, S. (2011). Seminar in Science Teaching. Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2016). The Result of the Ordinary National Educational Testing (O-NET) of academic year 2015. Retrieved 2019, October 16, from http://www.niets.or.th/. (in Thai)

Promwong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20. (in Thai)

Rodger, W. B., Joseph ,A., Taylor, A. G., Pamela, V. S., Janet C. P., Anne W., …Nancy, L.. (2006). The BSCS 5E Instructional model: Origins and effectiveness. Colorado: BSCS.

Sutthirat, C. (2015). 80 Child Center Innovative Learning Management (6th ed.). Nonthaburi: P-Balance Design and Printing. (in Thai)

The Institute for the Promotion of teaching science and technology. (2016). PISA 2015 Research Summary. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (in Thai)

Thepnimit, W. (2011). The Construction of Computer-Assisted Instruction Chemistry in Biomolecule Subject for Mathayomsuksa 4 Students Plan Math-English at Chonpratanwittaya School. (Master of Education). Kasetsart University. (in Thai)

Thianthong, M. (2002). Courseware Design and Development for CAI. Bangkok: Textbook Manufacture Center King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai)

Thuaklang, K., and Thuaklang, C. (2012). Media development/educational innovation to promote academic standing. Bangkok: Satapornbooks Press. (in Thai)

Wiangwalai, S. (2013). Learning Management. Bangkok: Odian Store. (in Thai)