เปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างระหว่างรัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ Comparison of Similarity and Difference between Political Science and Public Administration

Main Article Content

สมพงค์ บุญมาก

Abstract

เนื่องจากปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลหรือเอกชน เปิดสอนในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อย่างกว้างขวาง จึงเป็นเหตุให้เกิดความสนใจถึงความแตกต่างระหว่างสาขาวิชา “รัฐศาสตร์ กับ รัฐประศาสนศาสตร์” ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ในการเรียนการสอนของทั้ง 2 สาขาวิชานี้


            การศึกษาวิชาทางรัฐศาสตร์ (Political Science) เป็นการศึกษาศาสตร์ที่ว่าด้วยรัฐ (The science of the state) ซึ่งถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์  (Social Sciences) ที่กล่าวถึงทฤษฎีการจัดตั้งองค์การรัฐบาลและการดำเนินงานของรัฐ (Practice of the state) หรือรวมถึงพฤติกรรมการเมือง (political behaviour) หรือการแสวงหาอำนาจทางการเมือง (power–seeking) ของกลุ่มคน องค์การ และสถาบัน อันมีลักษณะแตกต่างไปจากรัฐ (state) ซึ่งมุ่งที่จะแสวงหาอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐ (public policy) และทิศทางของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (the direction of social change) หรือเป็นที่เข้าใจกันง่ายที่สุดในประเทศไทย คือเป็นวิชาการเมืองหรือศาสตร์ว่าด้วยการเมืองหรือศาสตร์ว่าด้วยอำนาจ (science of power) ซึ่งหมายถึงวิชาที่มุ่งศึกษาองค์การที่มีอำนาจปกครองรัฐหนึ่ง และการแข่งขันกันมีอำนาจในรัฐหนึ่งนั่นเอง (A-phaphirom, A., 2002 :1-2)


             ส่วนการศึกษาวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) คือ การศึกษาหาความรู้ในทุกด้านที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารงานภาครัฐ และวิชาทางรัฐประศาสนศาสตร์ยังมีความเป็น “สหสาขาวิชา (Interdisciplinary)”กล่าวคือ รัฐประศาสนศาสตร์ต้องอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่นรัฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา กฎหมาย และในบางกรณีอาจรวมถึงความรู้ด้านที่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังนั้นรัฐประศาสนศาสตร์ จึงศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง “กิจการสาธารณะ (Public Affairs)” ที่มุ่งศึกษาว่าจะมีวิธีดำเนินกิจกรรมที่ทำร่วมกันในสังคมอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่ปัจเจกบุคคลแต่ละคนต้องการ

Article Details

Section
บทความวิชาการ

References

A-phaphirom, A. (2002). Introduction to Political Science, (2nd Edition). Bangkok: Odeonstore Press. (In Thai)
George S. Gordon. (1975). A Weekly Compilation of Releases from The Securities and
Exchange Commission. 6(11).
Henry, N. (2004). Public Administration and Public Affairs, 9th Edition. DC: U.S. Government
Printing Office:
Ladawan Na Ayuthya,S. (2011). Concept and Theory of Public Administration, Chiang Mai:
Thanut Printing Press. (In Thai)
Leonard D, White. (1948). Introduction to the study of public administration. New York:
Macmillan.
Ramkhamhaeng Uiniversity. (2002). Introduction to Enterprise Administration, (9th Edition).
Bangkok: Ramkhamhaeng Jiniversity Press. (In Thai)
Nigro, Felix A. & Lloyd G. Nigro. (1977). The new public personal Administration,. Itasca,III :
Pecock. 18)
Sukhothai thammathirat University. (2011). Sheets of Fuindamehtal Principle of Political
Science. (9th Edition). Nonthaburi : Sukhothait hammathirat University. (In Thai)
Wilson, W. (1941). Political Science Quarterly. The Study of Administration, 54(4), 481-506