ความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2 The Self-Development Needs of Mathematics Teachers Under the Jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office Two as Based o

Main Article Content

ประคอง ยิ่งจอหอ
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์
สมจิตรา เรืองศรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research) มีวัตถุประสงค์ของ
การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 และ(2) เปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษาเขต 2 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการสอน และระดับการศึกษา ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan จำนวน 248 คน แต่ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 299 คนและได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ส่งคืนจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 299 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งค่าดัชนี IOC มีค่าตั้งแต่ 0.6-1.0 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การทดสอบแบบ t test (independent sample t test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว(One-way ANOVA)


ผลการวิจัยข้อมูลความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้


  1. ความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.31) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา-มัธยมศึกษาเขต 2 มีความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่ครูมีความต้องการพัฒนาตนเองมากที่สุด ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (= 4.37) รองลงมาได้แก่ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (= 4.34) และทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (= 4.25) ตามลำดับ

  2. ครูคณิตศาสตร์ที่มีเพศ แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูคณิตศาสตร์ ชายและหญิง มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ด้านทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีความต้องการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ครูคณิตศาสตร์ที่มีระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูคณิตศาสตร์ ปริญญาตรีและสูงกว่าระดับปริญญาตรี มีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ด้านทักษะด้านชีวิตและอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ มีความต้องการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. ครูคณิตศาสตร์ที่มี ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการสอน แตกต่างกัน มีความ-ต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม และรายด้าน
    ทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Chalarak, N. (2015). The role of teachers and teaching in the 21st century. Academic journals The Far Eastern University, 9 (1), 64-71. (in Thai)

Likitphonrak, W. (2015). The Needs of Secondary Education Management to Become an ASEAN Community as Perceived by School Administrators and Teachers of Schools under the Office of Secondary Educational Service Areas Area 1 Bangkok. (Master of Education). Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Manesanguan, S. (2012). Mathematics teaching behavior 2. (2nd ed). Bangkok: Ramkhamhaeng University Press. (in Thai)

Ministry of Education. (2008). Core curriculum for basic education, 2008. Bangkok: The Agricultural Cooperative Printing House of Thailand. (in Thai)

Mungkantha,J. (2015). Teacher Development in Teaching and Teaching Special Needs Children to Join Regular Children, Demonstration School, Ramkhamhaeng University. (Master of Education). Ramkhamhaeng University. (in Thai)

Office of the Basic Education Commission (2017). Teacher and educational personnel Development With the TEPE Online system. Retrieved 2017, April 19, from http: // www. Obec.go.th/news/ 69239.

Office of the National Education Commission (1999). Work Manual of School Administrators. Bangkok: Kurusapa Publishing House. (in Thai)

Office of Social Promotion of Learning and Youth Quality. (2014). Report of operation – Operation of the Social Promotion Office of Learning And quality of youth 2010-2013. Bangkok: Author. (in Thai)

Panit, W. (2012). The Way of Discipline Learning in the 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation. (in Thai)

Phutthasorn, E. (2011). Trends of enhancing learning skills in the last century. 21 for adult students. (Master of Education). Chulalongkorn-University.