การศึกษาความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

สิรภัทร จันทะมงคล
จตุรณ ฉิมพาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชาไฮดรอลิกส์ และนิว    แมติกส์ ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ 2)เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชานิวแมติกส์ และไฮโดรลิค จำแนกตามสาขาวิชา และชั้นปีที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 160 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า (rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1) นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มีความต้องการสื่อการเรียนการสอนวิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์  โดยจำแนกเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน ดังนี้  1)ด้านสื่อวัสดุ 2) ด้านสื่ออุปกรณ์ 3) ด้านสื่อเทคนิควิธีการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.16 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .84 


2) นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มีความต้องการสื่อการเรียนการสอนวิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ เมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีค่าเฉลี่ยของความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ สูงกว่า นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาตามระดับชั้นปีที่ศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความต้องการสื่อการเรียนรู้วิชาไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ สูงกว่าชั้นปีที่ 2 และสูงกว่าชั้นปีที่ 3 และกลุ่มสุดท้ายคือชั้นปีที่ 4 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Reference
Brown, W., Lewis, B. R.,& Hercleroad, F. F. (1972). Administering educational media:
Instructional media and library science. New York: McGraw-Hill.


Brown, Z. & Eberwein, D.H. (2010). Dick and Carey Model for Instructional Design.
Retrieved 2019, December 26, from: https://fpelearning.com/ARP/arp/DickandCarey.
Chaiyod, R. (1990). Educational Technology: Theory and Research. Bangkok:
Odian Store. (in Thai)
Department of Education (2016). Development of Guideline for technological media
for teaching of School in Bangkok Metropolitan Administration. Bangkok:
The Agricultural Co-operative Federation Of Thailand., LTD. (In Thai)
Erickson, C. W. (1968). Administering instructional media programs. New York:
Macmilan.
Frost, D. M., Bronson S Fau-Cronin, J. B., Cronin Jb Fau- Newton, R. U., & Newton, R. U.
(2016). Changes in Maximal Strength, Velocity, and Power after 8 weeks
Of Training with Pneumatics or Free Weight Resistance. 1533-4287.
Griffioen, D.M.E., Jong de. U., & Jak, S. (2013). Research self-efficacy of lecturers
In non-university higher education. Innovations in Education and Teaching
International, 50,25-37.
Kamol, W. & Nittaya, W. (1996). Concepts of development of teaching and Instructional
Media and Guidance for educational technology and resource center:
King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (In Thai)
Krejcie, R.V. & Morgna, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Education and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
Krismant, W. (2014). Innovation and technical education technology.
Technological Education Department King Mongkut’s University of Technology
North Bangkok: Bangkok. (in Thai)
Krumsvik, R. J. (2011). Situated learning and teachers’ digital competence. Education and
Information Technologies, 13(4), 279-290.
Krumsvik, R., & Jones, L. (2013). Teacher’s digital competence in upper secondary
School. Paper session presented at the International conference at
Information Communication Technologies in Education, Crete.
Narinporn, P. (2016). A study of status, problems and developing guidance in
instructional media Utilization of the teachers at College of Industrial Technology
Srisongkram Nakhon Phanom province. Nakhon Phanom University Journal Of
Education Mahasarakham University, 10(special Edition), 256-273. (In Thai)
Napitporrn, S. (1998). Status, needs and problems in media utilization of Royal Thai Air
Force College of Nursing. Master of Education (Educational Technology Thesis),
Kasetsart University, Faculty of Education, Program in Educational Technology.
(in Thai)

Pichod, P. (2001). A Study of Status, Problems and Needs in Instructional
Media Utilization of the Teachers at Rajamangala Institute of Technology,
Ayutthaya Huntra Campus. Master of Education (Educational Technology Thesis), Kasetsart University, Faculty of Education, Program in Educational Technology.
(in Thai)
Sirapat, J., Samran, M. & Namthip, O. (2019). A Factor Analysis of The Competency
of Professional Job Performance in Specific Fields for Industrial Mechanic
Teachers under The Office of The Vocational Education Commission as Perceived
by The Instructors at Rajamangala University of Technology. Journal of Education
STOU, 12(2), 41-59. (In Thai)