ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการออกกำลังกาย ของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นันทิชา ไกรสินธุ์
จุฑามาศ สิงห์ชัยนรา
สมบัติ อ่อนศิริ
สมบูรณ์ อินทร์ถมยา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการออกกำลังกายของครู
ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการออกกำลังกายของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ประชากรคือครูที่สอนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีจำนวน 300 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ในการออกกำลังกาย แบบวัดเจตคติและแบบสอบถามพฤติกรรมในการออกกำลังกาย โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบทดสอบความรู้ในการออกกำลังกาย แบบวัดเจตคติและแบบสอบถามพฤติกรรมในการออกกำลังกาย เท่ากับ 0.92, 0.88, และ 0.94 ตามลำดับ และนำเครื่องมือ
มาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาค (Cronbach) พบว่าแบบทดสอบความรู้ในการออกกำลังกาย แบบวัดเจตคติและแบบสอบถามพฤติกรรมในการออกกำลังกายเท่ากับ 0.73, 0.89, และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ส่วนใหญ่มีความรู้ในการออกกำลังกายในระดับปานกลาง ร้อยละ 27.22 2) ครูมีเจตคติในการออกกำลังกายในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 3) ครูมีพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.10 4) ครูมีความรู้ในการออกกำลังกายสัมพันธ์กับเจตคติในการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ครูมีความรู้ในการออกกำลังกายสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) ครูมีเจตคติในการออกกำลังกายสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Butcharoen, J. (2012). Circuit Training with Elastic Program Upon Health-Related Physical

Fitness. Journal of Faculty of Physical Education, 15(2), 7-13. (in thai)

. (2016). Articles of Health Education, Recreation, Physical Education and

Sports. Bangkok: Danex intercorporation. (in Thai)

Government gazette. (1999). National Education Act of B.E. 2542 (1999). Bangkok: Office of

the Government gazette. (in Thai)

. (2018). National Education Act of B.E. 2561 (2018). Bangkok: Office of

the Government gazette. (in Thai)

Keawvilai, S. (2009). The Predictive Factors on Exercise of Undergraduate Students were also

explored. Rajamangala University of Technology phanakhon, Faculty of Business

Administration. (in Thai)

Khamrot, W. (2013). Behavior and Accessibility for Exercise of Pasi Charoen Persons

(Research report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. (in Thai)

Leekitwattana, P. (2016). Research methods in education. Bangkok: Mean Service Supply. (in Thai)

Mhongkhonkasem, S. (1996). Media exposure, knowledge, attitude and the adoption of

automobiles by Bangkok drivers. (Master of Arts). Chulalongkorn University, Program in Communication Arts. Graduate School, (in Thai)

National legislative Assembly. (2018). Policies and guidelines to promote the exercise of the

masses and to take part in sports activities. Bangkok: The Secretariat of the Senate.

(in Thai)

Nilwongsanuwat, N. (2008). Principles of exercise for health. Pathumthani: Bangkok

University Press. (in Thai)

Sriramatr, S. (2014). Physical Activities for Wellness. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

(in Thai)

Suwanbundit, A. (2007). Service Psychology. Bangkok: Adulpattanakit (in Thai)

Toyota Foundation. (2017). Kham Phor Sorn. Bangkok: Bangkok Printing. (in Thai)

Yampradit, W. (2011). Exercise Behavior of Secondary School Teachers under Surin

Education Service Area in Academic Year 2010. (Master of Education Degree). Srinakharinwirot University, Program in Physical Education. Graduate School. (in Thai)