ผลของการใช้สื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้ใช้สื่อความจริงเสริม ที่สามารถดึงดูดความสนใจในการเรียนและสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยผลของการใช้สื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนมีค่าความ ยากง่าย ระหว่าง 0.46-0.61 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21 - 0.50 ค่าความเชื่อมั่น 0.78 และแบบสอบถามความพึงพอใจ 0.94 ซึ่งใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.33/84.44 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยสื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อความจริงเสริมคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำการวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยการใช้สื่อความจริงเสริม Augmented Reality (AR) ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Aunphimai, P. (2018). Problems in English Language Teaching and Professional Development Needs of Thai EFL Primary School Teachers (Master of Thesis), Buriram Rajabhat University, graduate school. (in Thai)
Ministry of Education. (2008). Indicators and subjects of learning the language learning Core Foreign countries According to the core curriculum of basic education, B.E. 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai)
Naksawat, T. & Phoyen, K. (2018). Story Telling Activities to Develop Thai Spelling Skill of Vowels Changing Form for Children with Learning Disability. Silpakorn University, (280). (in Thai)
Office of the Basic Education Commission, (2008). National Education Act 1999 Amendment (No. 2), B.E. 2003. Bangkok: Prekwangraphics. (in Thai)
Pakprod, N. (2019). Development of Instruction Media with Augmented Reality for Knowledge. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 9(4), 15-23. (in Thai)
Phoem, A. (2018). Developing Augmented Reality, Marker Type Regarding the system of the heart. (Master of Science) Mahasarakham University, Faculty of Information Science, Creative Media Program. (in Thai)
Priyawatid, P. & Naphapongs, W. (2016). Result of augmented reality code lessons about basicChinese vocabulary for students in Matthayomsuksa 3 Wat Tanee Nara Samosorn School. Academic Service Journal, Songkla Nakarint University, 27(1), 9-17. (in Thai)
Ruo Wei Chen & Kan Kan Chan, (2019). Using Augmented Reality Flashcards to Learn Vocabulary in Early Childhood Education. Journal of Educational Computing Research, University of Macau, 19(7), 1-20
Spearman, P. (1992). Reading The encyclopedia of educational research Washington, DC: AERA.Teerathanachaiyakun, K. (2019). Organizational behavior and organizational development. Bangkok: SE-education. (in Thai)
Tubphea, P. (2012). Development of a virtual world mixed media kit, merging the real world on the structure and Work of the heart for students Secondary School Year 5. (Master of Education Thesis), Naresuan University, Faculty of Education Computer Science Education Program. (in Thai)
Tumklang, K. & Tumklang, J. (2012). Educational media / innovation development to promote academic standing. Bangkok: Yellow printing. (in Thai)
Tunsiri, P. (2010). Augmented Reality. Executive Journal Bangkok University. 1(12), 169-173. (in Thai)
Wannakhaw, C. (2018). Effects of Using Augmented Reality on Science Course Learning the story of the solar system for grade 4 students. (Master of Education Thesis), Naresuan University, Faculty of Education. (in Thai)