แผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของโรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐสุดา เกษา
ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน
สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำและประเมินผลการรับรู้จากการใช้แผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของโรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่           1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน 2) หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 คน 3) ครูผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา 2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์   3) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ครูผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียน  5) แบบประเมินการใช้แผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดส่วนผสมทางการตลาดบริการ แนวคิดคุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าและแนวคิดการออกแบบโมเดลธุรกิจ


          ผลการวิจัยพบว่าแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกของโรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านกิจกรรมพิเศษ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภายนอก มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ของทางโรงเรียนและเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานต่างๆ ผ่านแผนงานกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการประกอบการเพื่อหนุนเสริมธุรกิจครอบครัว โดยมีการจัดกิจกรรมพิเศษเสริมหลักสูตร การสื่อสารผ่านสื่อท้องถิ่น วิทยุชุมชน หนังสือเชิญผู้ปกครอง กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง ช่องทางออนไลน์ อาทิ Facebook Line YouTube เว็บไซต์โรงเรียน และผลการประเมินการรับรู้จากการใช้แผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก  ของโรงเรียนฮอดพิทยาคม อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านการประชาสัมพันธ์เชิงรุกในรูปแบบ online มีจำนวนผู้ที่เข้าถึงกิจกรรมทั้งหมด 7,821 คน จำนวนการแสดงความรู้สึกทั้งหมด 41 ครั้ง การแชร์กิจกรรมสู่สังคมออนไลน์ทั้งหมด 109 ครั้ง และจำนวนผู้ที่เช้าชมรูปภาพกิจกรรมทั้งหมด 116 ครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alexander, & Yves, (2010). Business Model Generation. MO: Reedy Press.

Hasani, A. & Hanlee, N. (2021). Developing printed media for the tourism community Songkhla old city with technology has added reality. Journal of Technology and Educational Communication, 4(11), 58-65 (in Thai)

Khongrod, N. (2021). Development Pro-active Public Relations Model for Capacity Increasing Promoting Tourism in Phetchabun forThailand 4.0. PAYAP UNIVERSITY JOURNAL, 30(2), 103–117. (in Thai)

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Panwan, T. (2018). Innovation of strategic public relations through social network communication."PR in the era of Covid must turn the crisis into opportunity”. Journal of Human Society Academic Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(1), 14–25. (in Thai)

Pongpatcharin, P. (2019). Public Relations Strategies of Graduate Study Project, Dhonburi Rajabhat University. Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project, 13(2), 158-170. (in Thai)

Raksakaeo, P., Suklueang, K. ., & Dockthaisong, B. . (2021). BUDDHIST COMMUNICATION INNOVATION FOR PROACTIVE PUBLIC RELATIONS OF THE ROYAL THAI POLICE. Journal of MCU Social Science Review, 10(3), 93–106. (in Thai)

Saithipand, K. & Voraputhaporn, W. (2021). The Strategic Marketing Approach for IncreasingRevenue of Nong Kham ResortMueang District, KhonKaenProvince. Academic and research journal Northeastern University, 12(2), 15-23. (in Thai)

Wanichcharoen, N. & Boonshualit, C. (2020). Guideline Development for Public Relations of Thai Community Product Standards Mark in the Digital Age. Journal of Communication Arts Sukhothai Thammathirat Open University, 10(1), 45-53. (in Thai)