Scoring Rubrics of Takraw Skill for Mattayomsuksa 3 Students of Sripruetta School

Main Article Content

นุสบา กลางพิมาย
Vorrapong Yamngamluer

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะวิชาตะกร้อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนศรีพฤฒา ประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ ทักษะการเล่นลูกข้างเท้าด้านใน ทักษะการเล่นลูกหลังเท้า ทักษะการเล่นลูกเข่า และทักษะการเล่นลูกศีรษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีพฤฒา ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (sample random sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่นำเครื่องมือวิจัยไปใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชดำริ จำนวน
36 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) หาคุณภาพของเครื่องมือวิจัย 3 ด้าน คือ 1) ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ใช้การคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item - objective congruence: IOC) ด้วยวิธีของ Rovinelli and Hambleton จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน 2) ด้านความเชื่อถือได้ (reliability) โดยใช้วิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest) 3) ด้านความเป็นปรนัย (objectivity) โดยใช้ผู้ประเมิน จำนวน 2 ท่าน และนำเกณฑ์การประเมินทักษะวิชาตะกร้อไปใช้โดยหาค่าความสอดคล้องของผู้ประเมิน จำนวน 3 ท่าน


ผลการวิจัยพบว่า


1)  เกณฑ์การประเมินฯ ทั้ง 4 ทักษะ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00


          2) เกณฑ์การประเมินฯ ทั้ง 4 ทักษะ มีค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.93 0.96 0.97 และ 0.94 ตามลำดับ
ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก


          3) เกณฑ์การประเมินฯ ทั้ง 4 ทักษะ มีค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.94 0.92 0.96 และ 0.97ตามลำดับ
ซึ่งอยู่ในระดับดีถึงดีมาก


          4) เกณฑ์การประเมินฯ ทั้ง 4 ทักษะ มีความสอดคล้องกันของผู้ประเมินอยู่ในระดับยอมรับถึงดีมาก สามารถนำไปใช้ในการประเมินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีพฤฒาได้

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Chanchalo, S. (1999). Measurement and evaluation. Bangkok: Pimdee. (in Thai)

Jaikaew, N. (2018). Rubric Construction of Futsal Skills for Student Grade 12 of Prataungtipwittaya School. Master of Arts (Physical Education). Kasetsart University Major Field: Physical Education, Department of Physical Education.Thesis. (in Thai)

Kosa, B. (2004). Measurement and Evaluation in Physical Education. Bangkok: Extension and Training Office, Kasetsart University. (in Thai)

Leekitwattana, P. (2016). Educational research methods. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai)

Office of the National Education Commission. (2017). National Education Act, B.E. 1999 as Amended by Act (No.2), B.E. 2002 (No. 3), B.E. 2010 and (No. 4) B.E. 2019. Retrieved 2020, November, 24, from https://www.sesao30.go.th/law.php?type=act. (in Thai)

Pattiyathanee, S. (2017). Educational measurement. Kalasin: Prasan Printing. (in Thai)

Phutichan, P. (2004). Testing and Evaluation of Physical Education. Bangkok: Odeon Store. (in Thai)

Pianchob, W. (2018). Collection of articles on philosophy, principles, teaching methods and measurements for Assessment of physical education. Kalasin: Prasan Printing. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Ritcharoon, P. (2013). The Principal of Measurement and Evaluation in Education. Bangkok: House of Kermis. (in Thai)

Teekayupuk, N. (2014). Scoring Rubric Construction of Judo Skills for Undergraduate Students of Kasetsart University. Master of Arts (Physical Education). Kasetsart University Major Field: Physical Education, Department of Physical Education.Thesis. (in Thai)

TengkuSulaiman, R. (2018) Construction of sport skill test in Kabaddi for Thai elite athletics (Research Report). Krabi: Institute of Physical Education Krabi Campus, Faculty of Education. (in Thai)

Thiabthong, T. (2005). The Development of an Authentic Assessment Scoring Rubrics for Skills and Methods of Teaching Rhythmic Activities for Physical Education Students of Kasetsart University. Master of Arts (Physical Education). Kasetsart University Major Field: Physical Education, Department of Physical Education.Thesis. (in Thai)