editorial

Main Article Content

Ladawan - kaewseenual

Abstract

 บทบรรณาธิการ


 วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ ฉบับนี้เป็นปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564) ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช


          เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ความพยายามของคณะกรรมการประจำกองบรรณาธิการวารสารประสบความสำเร็จ
ไปอีกก้าวหนึ่งนั่นคือ การได้เลื่อนจากกลุ่มที่ 2 มาอยู่ในกลุ่มที่ 1 ในคราวประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal  Citation Index Centre) ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ครั้งที่ 3 (2564-2567)  ซึ่งสามารถส่งข้อมูลเพื่อพิจารณาเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI (ASEAN Citation Index) ในโอกาสต่อไปได้   กองบรรณาธิการจึงขอขอบคุณ และขอบพระคุณสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกอบด้วยคณะทำงานในกองบรรณาธิการภายในและภายนอก ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพผลงานที่ส่งเข้ามาตีพิมพ์เผยแพร่ และที่สำคัญคือนักวิจัยและผู้เขียนบทความทุกท่านในการผลักดันวารสารไปสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง

          สำหรับขอบเขตผลงานบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในฉบับนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 20 บทความ แบ่งออกเป็นศาสตร์ทางด้านการศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับ การบริหารการศึกษาจำนวนมากที่สุด นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การจัดการความรู้ และการยกระดับการประกันคุณภาพในสถานศึกษา บทความทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาประเด็นวัฒนธรรมข้ามชาติของแรงงานชาวพม่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการวิเคราะห์เนื้อหานวนิยาย
ชายรักชายของพิชามญชุ์  วรรณชาติ และสัญฑัต  แก้วแหลม และด้านการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่การบริหารต้นทุนการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านนาแงะ   นอกจากนี้ยังมีบทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ แนวทางในการออกแบบลวดลายผ้าบาติกเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น เป็นต้น


          วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการเขียนบทความเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ให้สู่สากลมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งการเปิดกว้างในการตอบรับผลงานจากนักวิชาการและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยคำนึงถึงคุณค่าทางวิชาการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงการพัฒนาและการต่อยอดองค์ความรู้อย่างไม่สิ้นสุด และในอนาคตอันใกล้วารสารจะมีการประชุม
กองบรรณาธิการเพื่อปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อรักษาคุณภาพ มาตรฐานและคุณค่าของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ อีกทั้งการปรับปรุงรูปโฉมของบทความให้มีความทันสมัย น่าสนใจ และยกระดับมาตรฐานของบทความให้มีคุณค่า น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นโดยการเพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความจากเดิม 2 ท่าน เป็น 3 ท่านตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาการใหม่ เพื่อให้ผลงานที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากลต่อไป


      


         

Article Details

Section
บทบรรณาธิการ

References

-