การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแอพพลิเคชันตารางธาตุเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา

Main Article Content

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
พัสวี สว่างใจ
สุธิดา ทองคำ
เวธกา เช้าเจริญ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแอพพลิเคชันตารางธาตุเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแอพพลิเคชันตารางธาตุ 2) พัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุของนักเรียนและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านลาดวิทยาจำนวน 44 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับแอพพลิเคชันตารางธาตุ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในแต่ละประเด็นมีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ยกเว้นเครื่องมือวัดผลที่ต้องปรับปรุงเนื่องจากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.33 2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคนผ่านเกณฑ์ที่คะแนนเฉลี่ย =19.18, S.D. = 0.58 (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.92, S.D.= 0.20) โดยมีความพึงพอใจเกี่ยวกับสีสันของภาพประกอบทำให้นักเรียนจำเนื้อหาได้ดีขึ้น นักเรียนได้รับความรู้จากเรื่องที่เรียน มีการเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยาก แอพพลิเคชันเรื่อง ตารางธาตุ ทำให้มีความสะดวกในการเรียนมากขึ้นและนักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาและบทเรียนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Karnpisamai, S. & Tanunchaibutra, P. (2015). The Development of Grade 11 Students

Critical Thinking and Problem Solving Abilities through the Problem Based Learning Activities on The Topic of “Photosynthesis”. Journal of Education Graduate Studies Research, 9(3), 183-190. (in Thai)

Knowledge about IT. (2019). Applications Applications is. Retrieved 2019, November 29, from

https://yongyuttuy.wordpress.com/applications-%E0%B8%84%E0%B8% B7%E0%B8%AD

Ministry of Education. (1999). Learning standards and indicators in science learning subject groups (Revised Edition B.E. 2560). Bangkok: Author (in Thai)

Ngamwannakorn, C. (2019). Development of a Learning Application on Mobile Device in

English for Information Officer. Yala: Faculty of Humanities and Social Sciences Yala Rajabhat University. (in Thai)

Panich, W. (2012). The way to create learning for pupils in the 21st century. Retrieved 2014, February 8, from http://www. noppawan. sskru.ac.th. (in Thai)

Phetkliang, F. (2020). Blended Learning. Journal of Early Childhood Education Management,2(2), 67-79. (in Thai)

Phosuwan, A. (16 July 2015). Blended Learning Management (Blended learning). Retrieved, 2017 October 16, from http://www.snc.ac.th/KM/index.php/2015-05-25-04-27-16/2015-05-25-04-28-58/145-blended-learning. (in Thai)

Pipatsri, P (2020). The Development of Blended learning on KidBright programing for grade 9th students. (Educational technology Thesis) Burapha University, Faculty of Education. (in Thai)

Punmee, Y. (2014). Blended Learning and the Development of Thai Education Quality in the 21st

Century. Retrieved October 11, 2008 from http://nueducation.2013blogspot.com/. (in Thai)

Sriuttha, S. & Suramanee, S. (2015). Development of Game Application for Learning on the

Computer Tablet, Topic: The Computer Hardware for Mathayomsuksa 4. Journal of Project in Computer Science and Information Technology, 1(1), 18-25. (in Thai)

Wapitbenja, P., Klinnu, C & Srisom, N., (2015). The Development Learning managements System Application of Virtual Classrooms on Mobile Device. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 58-67. (in Thai)