การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและวัฒนธรรมในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี

Main Article Content

พงศกร ศยามล
ชมพูนุท เพชรนิรมล

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัยเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและวัฒนธรรมในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองมี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง 2) ศึกษาวัฒนธรรมในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง โดยการเลือกแบบเจาะจง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้านที่ทำนา ผู้ที่สืบทอดภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง กลุ่มที่ใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองในจังหวัด  สุราษฎร์ธานี และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงพรรณนาประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) มีการสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง โดยส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง ร่วมกันจัดการปัญหาเกี่ยวกับการปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง ร่วมกันขุดลอกแม่น้ำลำคลอง เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปี และมีการขยายเครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่มภายในชุมชน 2) วัฒนธรรมในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง โดยการ สืบสานวัฒนธรรมในการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองแบบดั้งเดิม มีการใช้แรงงานคนแทนแรงงานเครื่องจักร มีการ นำข้าวพันธุ์พื้นเมืองมาบริโภคเป็นทั้งอาหารคาวและหวาน และแปรรูปเป็นแป้งเพื่อทำขนม มีพิธีกรรมและ คติความเชื่อ เช่น พิธีขอฝนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพิธีขอขมา
พระแม่โพสพ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Apichatkriengkrai W., Guptabutra T. & Supanimit P. The Art Project of Ecological Aesthetic in Thai Rice Culture. Veridian E-Journal, 10(1), 2054-2076. (in thai)

Chantarasupasen J., Khoomsab K., Khoomsab R., Tantong S., Khunratchasena K., Noikondee R., Srichantawong C. & Buranachokpaisan K. (2020). Using AIC Technique for Monitoring and Participation of Community to Conservation of Freshwater Jellyfish at Nong Mae Na Subdistrict Khao Kho District, Phetchabun Province. Rajapark Journal, 14(37), 204-214. (in thai)

Jituea N. & Sungrugsa N. (2017). Definition Source of Meaning Activity format and guidelines for the creation of Public Mind of Students of Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Veridian E-Journal, 10(3), 2387-2404. (in thai)

Isariyanon M., Isariyanon S. & Silakorn S. (2021). Community development of community strength to self-organization community of Thung Pho sub-district, Na Di district, Prachin buri province. Nakhon Lampang Buddhist’s Journal, 10(2), 15–30. (in thai)

National Economic and Social Development Council. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan. Retrieved 2021, October 26, from https://www.nesdc. go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (in thai)

Nonsiri P. & Narongrit C. (2018). The Key Success Factors of Collaborative Network for Enhancing Green Tourismin Khao Kho District, Phetchaboon Province. Journal of Southern Technology, 11(2), 15-26 (in thai)

Office of Agricultural Economics. (2019). Retrieved 2021, October 26, from http://www.thairice exporters.or.th/production.htm

Suratthani Rice Seed Center. (2018). Retrieved 2021, October 26, from https://stn-rsc.rice thailand.go.th/ (in thai)

Sutthinon, S. (2018). Rice Culture: The Production and Consumption Process According to Buddhism. Mahachula Academic Journal, 5(2), 116-124. (in thai)

Thanawut S. & Chareon S. (2018). This research encourages and establishment a learning center for rice tranformong (khao lam) to convserve wisdom: Banphai, moo5 tambol Khrabuangyai Phimai district, Nakhon Ratchasima. Journal of Graduate School of Commerce Burapha Review. 13(2), 135-145. (in thai)

Udomtheerakhun P. & Jaruma B. (2020). Language and Culture: Its Meaning, Importance, and Relation. Mahachula Academic Journal, 7(2), 53 - 63. (in thai)