การเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการตามบริบทในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในตำบลม่อนปิ่น 2) เสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลม่อนปิ่น กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในทุกหมู่บ้านของตำบลม่อนปิ่น จำนวน 50 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายพร้อม ไม่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและ
เต็มใจเข้าร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะ 2) ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 58 คน รวมทั้งหมด 108 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุที่ครอบคลุมการประเมินทั้งสุขภาพกาย ใจ สังคม และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านสุขภาพกาย อาทิ ปัญหาปวดตามร่างกาย โรคกระดูกพรุน และโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ (NCDs) ส่วนด้านสุขภาพใจ
ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว ด้านสังคม มีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง โดยผู้สูงอายุมีความต้องการในการเสริมสร้างสุขภาวะด้านกาย ใจและสังคมเพื่อให้ตนเองจะได้สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่เป็นภาระกับลูกหลาน 2) ผลของกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่าส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับดีและมีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับดี ภาวะการรู้คิดในผู้สูงอายุ มีสมรรถภาพทางสมองปกติ ด้านสุขภาพใจและสังคม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนสูง หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York: David McKay Company Inc.
Chiang Mai Provincial Public Health Office. (2020). Analysis of the situation of the elderly.
Retrieved 2020, May 9, from https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/
document/201007160205184040.pdf. (in Thai)
Chulalongkorn University. (2019). Self-care guide for good health. Bangkok: Chulalongkorn
University Press. (in Thai)
Department of Older Persons (2020). The statistic of older person of Thailand 77 in December 31, 2019. Retrieved 2020, April 9, from http://www.dop.go.th/ th/know/side/1/1/275 (in Thai)
Department of Older Persons. (2021). Problems of the Elderly. Retrieved 2022, April 25, from https://www.dop.go.th/th/know/15/461. (in Thai)
Division of Non-Communicable Disease. (2020). The report of NCDs diabetes, high blood pressure and other factors 2020. Bangkok: Aksorn graphic & Design. (in Thai)
Fang District Public Health Office. (2020). Basic Information of Fang District. April 1, 2020 from https://www.hosthai.com/00537/news_show?id=6586. (in Thai)
Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2019). Situation of The Thai Elderly 2019. Nakhon Pathom: Printery. (in Thai)
Jittapankul, S., Kunanuson, C., Pooncharoen , W., & Suriyawongpaisan, P. (1999). Health Status of Older Thai Persons. Bangkok: Holistic Publishing. (in Thai)
Kantaros, N., & Santivong, A. (2018). Participatory Action Research For Developing the Piloted Curriculum of Geriatric School in Local Government: A Case Study of Soem Ngam Municipality, Soem Ngam District, Lampang Province. E-Journal,Silpakorn University, 11(2), 3387-3402. (in Thai)
Kulprasutidilok, A. (2018). Health care for the elder by participation of the community nearby Phranakhon Rajabhat University. Journal of Medicine and Health Sciences, 23(1), 80-92. (in Thai)
Penpo, P. (2020). Factors Related to Health Promotion Behaviors of The Elderly in Wangsaiphun District, Phichit Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 4(8), 210-223. (in Thai)
Satitwittayanun, S. (2009). Holistic Approach on Ageing Care. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press. (in Thai)
Threerapuncharoen, N., Chaikittiphon, S., Sukkasem, S., & Semamon, W. (2010). The result of Participatory Action of hospitality older person to encourage heath and prevent health problem in older person in Ayutthaya Province. Office of academic resources and information technology Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)
Yueran, S. & Waratwichit, C. (2018). Participatory Action Research and the Success of Policy Change in Health System. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 288-300. (in Thai)