การพัฒนาคู่มือครูที่ปรึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 11 สหวิทยาเขตสุราษฏร์ธานี เขต 3 The Development the Teacher's ManualCounselors of Schoolsunder Secondary Educational Service Area Office 11 in Campus Surat Thani 3

Main Article Content

เลอพงศ์ มณีฉาย
บรรจง เจริญสุข
นัฎจรี เจริญสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษาพัฒนาคู่มือครูที่ปรึกษา และประเมินความเหมาะสมของคู่มือครูที่ปรึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สหวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เขต 3 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูผู้สอน จำนวน 217 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 การพัฒนาคู่มือครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของคู่มือครูที่ปรึกษาของโรงเรียน โดยนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 10 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของครูที่ปรึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยูในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ คือ ด้านการให้ความช่วยเหลือและประสานงานด้านการพัฒนานักเรียน ด้านการแนะนำและการให้คำปรึกษาและด้านการมีปฏิสัมพันธ์ตามลำดับ ผลการประเมินพัฒนาคู่มือครูที่ปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ประเมินความสอดคล้องของคู่มือ พบว่า คู่มือมีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน สามารถนำไปใช้ได้ และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือครูที่ปรึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ คือ ด้านการนำไปใช้ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษาด้านการออกแบบ และ ด้านรูปเล่ม ตามลำดับ

The purpose of this research were  to study the performance of teacher’scounselors, todevelopment the teacher’s manual counselor, and to assess the suitability of the teacher's manual counselorof the school underunderSecondary Educational Service Area Office 11 in CampusSuratThani 3.The method of the research into 3 steps.Thefirst :tostudy the performance of teacher’s counselors.The sample were 217 teachers by simple random sampling. The instrument of research used the questionnaire. The reliability of thequestionnaire was 0.98. The second :to development the teacher’s manual counselor, Check the accuracy of the content is completed by 5 experts to evaluate the consistency and appropriateness of the manual and the right consistency teacher’s counselor of the school. By the samplewere 10 school administrator and 30 teachers evaluate appropriate data analysis. Using basic statistics such as mean and standard deviation.

          The research results were as follows: the performance of teacher’s counselors. Overall and each aspects were at medium. Ranging from high to low is on assistance and coordination development of students, guidance and counseling And the interaction respectively the evaluation guide teacher adviser by the experts, the evaluation of the consistency of the manual. The manual is appropriate and consistent, can be used. And the assessment of the suitability of a teacher's manual counselor. Overall rating were at the highest level. Ranging from high to low is the application, the content, the language used in design and in book form, respectively


 

 

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biographies

เลอพงศ์ มณีฉาย

คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

บรรจง เจริญสุข

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

นัฎจรี เจริญสุข

คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี