การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช Eco-tourism management of Nakhon Si Thammarat Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือเพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้คือแบบสอบถามการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วิธีการ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าด้านคมนาคม และสาธารณูปโภคมาก จากปัจจัยด้านความเชื่อมโยงของเส้นทางท่องเที่ยว ด้านถนนและเส้นทางที่ใช้เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว และระบบขนส่งที่เหมาะสมกับสภาพแหล่งท่องเที่ยว ด้านที่พักแรม และร้านอาหารมาก จากปัจจัยด้านราคาที่พักเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง การปรับปรุงที่พักให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ความสะอาด ความปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ร้านอาหารที่สะอาด ปลอดภัยและสะดวกที่เพียงพอ ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมาก จากปัจจัยการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยเจ้าของพื้นที่ บริการนำเที่ยว มัคคุเทศก์โดยเจ้าของพื้นที่ และกำหนดนโยบายพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแผนพัฒนาท้องถิ่น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าด้านเศรษฐกิจมาก จากปัจจัยการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่รอบนอก การจ้างแรงงานสร้างอาชีพในชุมชนในพื้นที่ และการจ้างแรงงานนอกพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวเดียวกัน ด้านสังคม และวัฒนธรรมมาก จากปัจจัยความสามารถใช้แหล่งท่องเที่ยวเพื่อผ่อนคลาย การยอมรับค่านิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้ และความสะดวกสบายจากสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติมาก จากปัจจัยการอนุรักษ์และปกป้อง ชุมชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
There were two main objectives of this research. The first objective was to study Eco-tourism management of Nakhon Si Thammarat province. The second objective was to study element of Eco-tourism management of Nakhon Si Thammarat province.
The sampling consists of 400 stakeholder and people were used as the tools to collect the data and to analyze percentage and standard deviations. The research results showed that:
Transportation and infrastructure was the best in factor of linkage in tourist attraction, road and trail was comfortable. Accommodations and restaurant was the best in factor of pricing was reasonable, environmental the best in factor of pricing was reasonable, renovate environmental, daily clean and safe. Tourist attraction management was the best in factor of stakeholder management, local tourist guide and communication tourism master plan.
The economics was the best in factor of incentive around tourist area, employment in community and outsource. Social and Cultural was the best in factor of recreation area, arrive exotic cultural and comfortable. Environmental and Natural was the best in factor of conservation, participant community and adaption.