การรับรู้และการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครศรีธรรมราชในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

บุญยิ่ง ประทุม
โสภณ ชุมทองโด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม 2) การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) ปัญหาอุปสรรคของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครศรีธรรมราชในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการ วิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติคือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า

1) การรับรู้ข้อมูลต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ.2558 พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดได้รับรู้ว่าประเทศไทยจะมีการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี พ.ศ.2558 ด้านความรู้ เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มีความรู้และมีช่องทางการรับรู้ผ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุด และการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับมาก ความพร้อมของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ระดับน้อยที่สุด และด้านเจ้าของผู้ประกอบการ และพนักงานของธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมควรได้เข้ารับการ ฝึกอบรมภาษาอังกฤษและฝึกอบรมภาษาเพื่อนบ้าน

2) การปรับตัวต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558 ของธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดย่อมในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า เจ้าของผู้ประกอบการ และพนักงานของธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมได้ดำเนินการปรับตัวด้านการศึกษา

3) ปัญหาอุปสรรคต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ในปี 2558 ของธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจขนาดย่อมนั้น ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการมากที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร คือ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ให้กับบุคลากรด้านภาษาวัฒนธรรม และกฎหมาย รวมถึง ข้อดีข้อเสียของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) ด้านนโยบายและการบริหารของภาครัฐ คือ ควร ดำเนินการสร้างความเข้าใจ และมีนโยบายทิศทางการบริหารในเรื่องการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ชัดเจน 3) ด้านการตลาดและการลงทุน คือ ควรมีการวางระบบการตลาด และการลงทุนอย่างเป็นระบบ และมีมาตรการรองรับอย่างเป็นธรรม

 

Recognition and Adaptation of Entrepreneurs Small and Mid-Sized Business in Nakhon Si Thammarat into the ASEAN Economic Community

This research aims to 1) study the recognition of entrepreneurs, small and mid-sized enterprises 2) the adaptation of entrepreneurial small and mid-sized enterprises 3) the problems of entrepreneurs and medium businesses sized enterprises in Nakhon Si Thammarat to enter the ASEAN Economic Community. This research is a quantitative research. Questionnaires were used to collect data. Averages and percentages are used to analyzed the data. The study found that

1) Receiving information on the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015 showed that people in the country know Thailand is stepping into ASEAN Economic Community (AEC) in 2015 They received the information through various channels, newspapers. Small and mid-zied business will be affected on a large scale. The readiness of small and mid-sized business to enter ASEAN is in the lowest level. Both employer and employees of small and mid-zied business should have English Training courses also ASEAN’s languages used.

2) Adaptation to the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015, employer and employees are active in the part of being well educated businessmen.

3) The problems to step into the ASEAN Economic Community (AEC) in 2015 of the small and mid-sized are production and services For the suggestions : 1) personnel should be encouraged to learn language, culture and law. The pros and cons of small and mid-sized business 2) policies and administration should have a clear guide plan to step into ASEAN association 3) marketing and investment, they should have the measurement of the investment systematically.

Article Details

Section
บทความวิจัย