การศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารและช่องทางการสื่อสาร ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เมธาวี แก้วสนิท

Abstract

งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาการรับรู้ข่าวสารและช่องทางการสื่อสารระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารจากมหาวิทยาลัยของชุมชน เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และเพื่อหาแนวทางสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบจำลองการสื่อสาร SMCR แนวคิดการสื่อสารชุมชน หลักการประชาสัมพันธ์ และแนวคิดมหาวิทยาลัยกับชุมชน ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏต่อชุมชน และระดับการรับรู้ข่าวสารของชุมชนกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏมาเป็นกรอบในการกำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม สอบถามกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ซึ่งเป็นชาวบ้านทุกเพศ ทุกวัยที่มีภูมิลลำเนา อยู่ในหมู่ที่ 4, 6 และ 7 และหมู่บ้านอื่นๆ (หมู่ 2,3 และ 5) รวม 600 คน โดยผลการวิจัยในประเด็นการศึกษา ระดับการรับรู้ข่าวจากมหาวิทยาลัยของชุมชน พบว่าจำนวนประชาชนที่รับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัยกับประชาชนที่ไม่ได้รับข่าวสาร มีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ ประชาชนที่เคยรับข่าวสาร จำนวน 295 คน หรือร้อยละ 50.8 และกลุ่มที่ไม่เคยรับข่าวสาร จำนวน 275 คน หรือร้อยละ 47.3

สำหรับความถี่ที่ผู้รับข่าวสารของมหาวิทยาลัยรับสารมากที่สุด คือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งใกล้เคียงกับ ประชาชนที่รับข่าวสาร 2 ครั้งต่อสัปดาห์ คือ 69 คน (ร้อยละ 23.3) และ 65 คน (ร้อยละ 22) ตามลำดับ

ประชาชนรับข่าวสารประเภทการเรียนการสอนและนักศึกษามากที่สุด คือ 95 คน (ร้อยละ 32.2) ต่อมาคือ กิจกรรมบริการวิชาการชุมชนกับข่าวการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ 89 คน (ร้อยละ 30.2) และ 88 คน (ร้อยละ 29.8) ตามลำดับ

ในประเด็นการศึกษาช่องทางการสื่อสารระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย พบว่า ช่องทางการสื่อสาร ที่ประชาชนรับรู้ข่าวสารของมหาวิทยาลัย เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ป้าย สื่อบุคคล วิทยุ สื่อออนไลน์ หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ และเห็นว่าเนื้อหาของข่าวสารที่ได้รับนั้น มีความชัดเจน และความสมบูรณ์ของเนื้อหาในระดับดีมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ประชาชนแสดงความต้องการการรับข่าวสารของมหาวิทยาลัย จากสื่อวิทยุมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อโทรทัศน์ ป้าย สื่อบุคคล สื่อออนไลน์ หนังสือพิมพ์ และรถแห่ ตามลำดับ และในทัศนะ ของประชาชนเสนอว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์มากขึ้นและต่อเนื่อง โดยใช้สื่อที่หลากหลาย และในแต่ละสื่อ ควรเผยแพร่เป็นประจำ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควรประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนสร้างกิจกรรมในชุมชน รวมทั้งการให้นักศึกษามาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และช่วยพัฒนาชุมชนด้วย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะแนวทาง การวางแผนการสร้างช่องทางการสื่อสารระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชต่อไป 

 

The Study of News Perception Level and Channel for Communication between Community and Nakhon Si Thammarat Rajabhat University

The study of news perception level and channel for communication between community and Nakhon Si Thammarat Rajabhat University aimed to study the news perception level, channel for communication between community and university and to find the way to communicate between community and university. The researcher employed SMCR Communication Model, Community Communication Concept, Public Relations Concept and Community-University Engagement, also previous research which is related to Rajabhat University toward community and news perception level of community toward Rajabhat University as a frame to conduct this research.

The researcher selected quantitative research methodology. Questionnaires were used to collect the data with non-probability sampling (Accidental sampling). The villagers both male and female and all ages who live in Moo 4, 6 and 7 and others (Moo 2, 3 and 5) in total 600 samples. The research result revealed that people who received the news from the university and did not receive were at the similar numbers; 295 samples (50.8%) received and 275 samples (47.3%) did not receive the news from the university.

The frequency of news perception, most samples received the news once a week which is similar number with those who received the news twice a week: 69 samples (23.3%) and 65 samples (22%) respectively.

The samples received news mostly on teaching and students issue which are 95 samples (32.2%). The academic news and cultural activities were followed in similar numbers: 89 samples (30.2%) and 88 samples (29.8%) respectively.

Communication channel which samples perceived university’s news sorted in descending order as banner, personal media, radio, online media, newspaper, printed media and television. However, the samples wanted to receive university’s news from radio as the first source, television, banner, personal media, online media, newspaper and car with loudspeaker respectively. Furthermore, the samples’ attitude suggested that the public relations should promote the news more and continuously through a variety of media. In addition, the university should coordinate with community leaders to create activities that can help students learn and develop community as well.

Article Details

Section
บทความวิจัย