การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของ สถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 113 คน และ ครูผู้สอน จำนวน 302 คน รวม 415 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กลยุทธ์การปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิธีการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์การขยายโอกาสทางการศึกษา กลยุทธ์ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา ตามแนวทางการกระจายออำนาจ เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาทุกระดับ ตามหลักสูตรและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ตามลำดับ ผลการ เปรียบเทียบการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนขนาดโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
The Strategy into Action in School Under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4
The purpose of this research was to study and compare the strategy into action in school under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 4. The data collected from 113 school administrators and 302 teachers, including 415 people by using the questionnaire. The reliability of questionnaire was 0.91. The data was analyzed by mean, standard deviation and t-test.
The results showed that the strategy into action in schools were at high level, sorted in descending order as follows: the cultivation of virtue, the consciousness of being Thai and the adaption of the philosophy of sufficient economy, the expansion of educational, opportunities, the development of teachers and educational personals system, the efficiency of management according to the decentralization, focusing on the participation from all sections and the development of standards and quality of education at all levels. According to the curriculum and promote technologies as learning tools. The result of the comparison of the strategy into action in schools according to the opinion of the school administrators and teachers revealed that there was a statistically significantly difference at 0.05. In the aspect of school size was not different.