ทัศนคติที่มีต่อการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การศึกษาทัศนคติที่มีต่อการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานาฏศิลป์และ การแสดงคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบทัศนคติต่อการแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างการแสดงบทละครแนว Drama และ แนว Comedy และเพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไข ปรับปรุงและ ข้อเสนอแนะในการแสดงบทบาทสมมติกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการแสดงบทบาทสมมติและการนำเสนอผลงาน ละครเวทีแนว Drama เรื่องห้องสีชมพู และละครเวทีแนว Comedy เรื่องทึนทึก ผลการวิจัย มีดังนี้
ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการแสดงบทบาทสมมติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.39 การแสดงบทบาทสมมติด้วยวิธีการแสดงละครเรื่องห้องสีชมพูและเรื่องทึนทึกทำให้นักศึกษาเข้าใจการแสดง ได้มากขึ้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.39 และการแสดงบทบาทสมมติทำให้นักศึกษาเข้าใจความต้องการของตนเอง และเทคนิคการพัฒนาการแสดงด้วยวิธีการ Work shop ทำให้นักศึกษามีแรงกระตุ้นอยากแสดงละคร มีค่าเฉลี่ยต่าสุดคือ 4.00
ผลจากการเปรียบเทียบการแสดงละครเวทีแนว Drama เรื่องห้องสีชมพู และละครแนว Comedy เรื่องทึนทึก ปรากฏผลว่านักศึกษาชอบแสดงละครเวทีแนว Drama มากกว่า จากจำนวนนักศึกษา 13 คน ชอบเรื่องห้องสีชมพู 8 คน และชอบละครแนว Comedy เรื่องทึนทึก 5 คน
Attitude toward Role Playing of Dancing Art and Performance Students in the Faculty of Humanities and Social Sciences Nakhon Si Thammarat Rajabhat University
The study aims to investigate the attitude of Dancing Art and Performance Program students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, compare the difference between drama and comedy play, and to find the ways of solving, improving, and suggesting for was role playing. The population and the sample were 13 third year students. The research tool was the questionnaire focusing on the attitude to role playing and 2 stage play presentations, Pink Room for drama and Almost Old for comedy (Thuen Thuek).
The study found that the students’ attitude toward role playing was at high level with the highest average at 4.39. Using role playing; Pink Room and Almost Old helped the students increased their understanding about role playing at the highest average at 4.39. Role playing also helped the students know their needs and techniques to develope their performance. Work shop encouraged the students to perform the play at the lowest level at 4.00.
The result of the comparison between drama play, Pink Room, and Thuen Thuek, Almost Old, showed that the students prefered drama play more than comedy play. Among 13 students, 8 prefered Pink Room and 5 prefered Thuen Thuek, Almost Old.