นโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การศึกษานโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับนโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (4 ด้าน คือ ด้านการ บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ศาสนา และข้อมูลข่าวสาร ด้านการประกอบอาชีพ/ ฝึกอบรม และการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ) ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรเป็นผู้สูงอายุ บุคคล ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว จำนวน 8 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุ จำนวน 295 คน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลที่รวบรวมมา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสอบถามปลายเปิดจะทำการวิเคราะห์ เนื้อหาโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่านโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ระดับนโยบายสวัสดิการ สังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ทั้ง 4 ด้านโดยภาพรวม พบว่า 1) ด้านการบริการ ทางการแพทย์และการสาธารณสุขผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 3.70 2) ด้านการศึกษาศาสนา และข้อมูลข่าวสาร ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง เท่ากับ 3.70 3) ด้านการประกอบอาชีพ/ฝึกอบรม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 3.67 4) ด้านการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี ่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 3.65 ปัญหาและอุปสรรคนโยบายสวัสดิการสังคม ของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีปัญหาและอุปสรรคทั้ง 4 ด้าน และแนวทางการ แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสวัสดิการสังคมของภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทั้ง 4 ด้านเช่นกัน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะโดยจะให้ความสำคัญกับการเข้าถึงประชาชน และการให้บริการที่เป็นระบบ มีความกระตือรือร้น และมีความ รวดเร็วในการดำเนินงานมากขึ้น
The Government Social Welfare policies that effect to life quality development of the elderly in Tha-Ngew Amphoe Mueang Nakhon Si Thammarat Province
The research of The Government Social Welfare policies that effect to life quality development for the elderly in Tha-Ngew, Amphone Mueang, Nakhon Si Thammarat Province. The objectives of this research were to study The Government Social Welfare Policies that effect to life quality development (for elderly in 4 areas including Public Health and Medical service, Education, Religions, Information and news Appropriate occupation and Suitable. Occupational Training and Monthly Allowance Assistance) Problems and barrier, Solutions to problems welfare Policies that effect to life quality development. The research is a quantitative, both genders-male and female from the elderly population over 60 years old in 8 Villages, elderly of 295 samples. The research was using the automatic statistic program to integrate and analyze the data that shown Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation. This research used open-ended form questionnaires that were concluded by using a descriptive statistic as a data analysis.
The results of the research of The Government Social Welfare policies that effect to life quality development of the elderly in Tambon Tha-Ngew, Muang Amphone, Nakhon Si Thammarat were; The Government Social Welfare Policies that effect to life quality development of the elderly has found in 4 areas, including; 1) Public Health and Medical: = 3.70 (High) 2) Education, Religions, News and information: = 3.70 (High) 3) Occupational Training: = 3.67 (Medium) 4) Monthly Allowance Assistance: = 3.65 (Medium) Problems and barrier of The Government Social Welfare Polices that effect to life quality development of the elderly that have shown in 4 areas and Solutions to problems of The Government Social Welfare Policies that effect to life quality development of the elderly that have shown in 4 areas. Also the suggestions of using the proper social services with fast, effective and active systems that will be benefit to mass population.