การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อังคณา ฤทธิกุล

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพที่มีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อย่างยั่งยืนของชุมชนและพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนของชุมชน ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผู้แทนส่วนราชการ และ ประชาชนในชุมชน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และเทคนิค SWOT Analysis การวิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาศักยภาพที่มีความสัมพันธ์กับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชน พบว่า ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการ การประชาสัมพันธ์ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควรมีการ กระจายรายได้ภายในชุมชนเพราะให้ความร่วมมือ การมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม มีความสะดวก ปลอดภัย สะอาด และสวยงามมีที่พักเพียงพอกับนักท่องเที่ยว ภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญในด้านการบริหาร จัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชนเท่าที่ควร บริบทด้านพื้นที่มีความหลากหลายทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นเกษตรกรรมสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ประชาชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ มีลักษณะการ มีส่วนร่วมทางสังคมที่ดี ต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน

การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนของชุมชน ประเด็น ยุทธศาสตร์เชิงรุกต้องเสริมสร้างองค์กรโดยการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนซึ่งมีกิจกรรมด้านการท่อง เที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมภายใต้การบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมโดยมี หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ร่วมกันวางแผนงาน จัดสรรงบประมาณ เพื่อกระจายรายได้และผลประโยชน์ ให้แก่ชุมชน ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไขต้องมีแนวทางในการขยายขอบข่ายชุมชนไปยังกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นเอกลักษณ์เด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวแบบครบวงจร ยุทธศาสตร์เชิง ป้องกันต้องสร้างเครือข่ายเพื่อบริการนักท่องเที่ยวโดยประสานงานกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ให้มีการ จัดระบบการขนส่งที่สะดวกปลอดภัยได้มาตรฐาน ยุทธศาสตร์เชิงแก้วิกฤตต้องวางแผนการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน เช่น ลดการบุกรุกที่สาธารณะให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ หวงแหน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของชุมชนต่อไป

 

The Sustainably Development for Ecotourism at Ban Tam Pheung Ton-Yuan Sub-District, Pamon District, Surat Thani Province

This study aimed to investigate the potential relationship with ecotourism, sustainable communities and develop strategies for ecotourism, participatory and sustainable community. Purposive Sampling was used with a sampling population of about 50 made up of community leaders, ecotourism operators, representatives from government agencies and the community. The research instrument were questionnaires. SWOT ANALYSIS was used to collect the data. Percentage and content analysis were used to analyzed the data.

The results were correlated with the potential of ecotourism and community based on personal information sampled with the conversation of natural resources. Because of the lack of common knowledge and understanding of management, public relation is not widespread as it should be distributed within the community. The proposed cooperation by leaders and the community to participate in a variety activities had the potential of safe, clean and beautiful tourist environment

The strategic development of ecotourism; participatory and sustainable community development of service center for tourists, tour coordination with other organizations with a more standard safety and crisis response strategies, measures to promote and safeguard the management of natural resources. There should be public participation in the knowledge and management of natural resources exploitation and conversation.

Article Details

Section
บทความวิจัย