กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบน

Main Article Content

นราธิป ธีรธนาธร

Abstract

การวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาค ใต้ตอนบน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพโดยรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบน และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ และความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการ และ เพื่อเสนอกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยทรัพยากรมนุษย์สายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าและปลายเปิด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้

1. ด้านการศึกษาต่อ พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องการกำหนดคุณสมบัติในการศึกษาต่อตาม ระเบียบของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยควรมีการจัดสรรทุนการศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษ และมีความ ยุติธรรมในการพิจารณาคัดเลือกคณาจารย์ในการศึกษา รวมทั้งควรพิจารณาลำดับการให้ทุนการศึกษา โดยการพิจารณาในสาขาที่ขาดแคลน หรือมีความจำเป็นก่อน เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีบุคลากรเพียงพอ และเทียบ เท่ากับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

2. ด้านการฝึกอบรม สัมมนา พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องภาระหน้าที่งานสอนเป็นอุปสรรค ในการเข้าร่วมฝึกอบรม และมหาวิทยาลัยควรมีการฝึกอบรมด้านการสอน การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ใน เรื่องภาษาต่างประเทศ รวมทั้งควรจัดให้มีการอบรมสัมมนา เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาการให้แก่อาจารย์ เพิ่มขึ้น เช่น ทักษะเฉพาะด้านของอาจารย์แต่ละสาขาวิชา

3. ด้านการวิจัย พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องสัดส่วนภาระงานสอนและการทำวิจัยของ คณาจารย์ และมหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริมอาจารย์ได้มีโอกาสทำงานวิจัยให้มากขึ้น การเข้ารับการอบรม เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย รวมทั้งควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการให้คำปรึกษางานวิจัย

4. ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องการพิจารณาดำเนินการ กลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการของหน่วยงานต้นสังกัด และมหาวิทยาลัยควรมีการส่งเสริม ให้คณาจารย์ได้สร้างผลงานด้านวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งควรมีระบบขั้นตอนในการขอตำแหน่งทาง วิชาการให้ชัดเจน

 

The Strategy of Human Resource Development for Academic Section of Rajabhat University in the Upper Southern Area.

The objectives of this study are to analyze the problems, obstacles, needs and guidelines for academic human resources development of upper South regions of Rajabhat university. There were four main aspects which were four major studied such as advance education, career training, research and academic career advancement. The samples were 291 upper South regions of Rajabhat university. The data were collected by open-ended and Likert scale type questionnaires. The data were analyzed by percentage, mean and standard deviation.

The results were found as follows:

1. Inadequate scholarship or educational fund was the leading restraint for advanced education. The university should acquire more funding sources for continuous studying of faculties in the country on overseas and should provide a reliable process in staff selection for advance education.

2. Incentives for training participation was the problem of career training. Universities should support and promote the faculties for their discipline trainings both domestic and foreign 1-2 times annually.

3. Availability of overseas research fund was the prime difficulty of research aspects. The universities should support and motivate the faculties for conducting research. The Universities main library should provide more adequacy and accessibility of research information.

4. Deficiency of career counseling experts was the major hindrance for staff’s career advancement. University administrators should promote the staff in conducting various academic works for obtaining higher career advancement.

Article Details

Section
บทความวิจัย