ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

อารีรัตน์ ฤกษ์งาม
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) ศึกษาแนะแนวทางในการเสริมสร้างการเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา จำนวน 109 คน คำนวณโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.95 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดมีมากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดร้อยเอ็ดจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ สถานะ และสำนัก/กองที่สังกัดไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนด้าน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหารส่วน จังหวัดร้อยเอ็ดได้แก่ ปัจจัยด้านความชัดเจนของโครงสร้างการบริหารงาน ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านความชัดเจนของยุทธ์ศาสตร และปัจจัยด้านบรรยากาศที่สนับสนุน โดยสามารถทำนายความ แปรปรวนรวมกันได้ร้อยละ 60.10 (R2 =0.601) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

4. ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดที่สำคัญได้แก่ เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นในการวางแผนการทำงานร่วมกัน และผู้บริหารควรสร้างพลังการทำงานเป็นทีม

 

Factors Influencing the Organizational Development into a Learning Organization of Roi Et Provincial Administrative Organization

The purposes of this research were 1) to study an organizational development’s level into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization, 2) to compare an organizational development’s level into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization 3) to study factors influencing the organizational development’s level into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization, and 4) to recommend for improvement of the organizational development into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization . The samples were 109 officials, calculated by Taro Yamane’s formula at the confident level at 0.95 The instruments used in the research were questionnaires. The statistical tools were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, stepwise multiple regression and content analysis to analyze qualitative data.

The main research findings were as follows

1. An organizational development’s level into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization was higher than 70% at 0.05 level of significance.

2. An organizational development into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization classified by sex, age, status, and division was not different, and education and working experience were significantly different at the 0.05 level.

3. Four factors consisted of organizational structure, team work, strategy, and supportive environment affected the organizational development’s level into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization which could totally explain the dependent variables at 60.10 (R2 =.601) with 0.05 level of statistical significance.

4. The recommendations for improvement of the organizational development into a learning organization of Roi Et Provincial Administrative Organization, the organization should allow officials to share an opinion in all stages of organizational planning and exclusives should provide a team work.

Article Details

Section
บทความวิจัย