การพัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาทักษะชีวิตในการจัดกิจกรรมแนะแนว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนาชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม แนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองชุดกิจกรรม เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียน ศึกษาสงเคราะห์พัทลุง จำนวน 25 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับใช้จริง ชุดกิจกรรมได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มา โดยอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต แบบประเมินทักษะชีวิต และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าอำนาจจำแนก และ การทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาของการพัฒนาทักษะชีวิตในกิจกรรมแนะแนวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มาจากจากครอบครัวฐานะยากจน ขาดบิดาหรือมารดา หรือขาดทั้งบิดาและมารดา อาศัยอยู่กับ ผู้ปกครองที่มิใช่บิดามารดาของตนเอง ทำให้ขาดแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต และขาดทักษะชีวิต และ พบว่า มีระดับการพัฒนาทักษะชีวิตทั้ง 4 องค์ประกอบ ในระดับ พอใช้ และรองลงมาคือต้องปรับปรุง
2. สภาพปัญหาของการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า จุดประสงค์การเรียนรู้สอดคล้องกับองค์ประกอบทักษะชีวิตน้อยมาก โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขาดการนำเทคนิคการสอนที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับนักเรียน สื่อการเรียนรู้ไม่หลาก หลาย ใช้เทคนิคการวัดและประเมินผลจากการสังเกตการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนเท่านั้น
3. ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 12 กิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.07/81.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75
4. หลังจากการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคะแนนการประเมินทักษะชีวิต สูงกว่า ก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นสื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมากที่สุด
Development of a Guidance Activities Packages Based On Multimedia For Life Skills Development Of Rajchaprachanukhroh 19 School Mattayomsuksa 1 Students.
The purposes of this research were to 1) Define the problems of life skills development in guidance activities for Matthayomsuksa 1 students 2) Develop the guidance activities package based on ultimedia for life skills development of Matthayomsuksa 1 students at Rajaprajanugroh 19 School Nakhon Si Thammarat 3) Study the result of using the guidance activities package based on multimedia for life skils development of at Rajaprajanugroh 19 School Nakhon Si Thammarat Matthayomsuksa 1students 4) Investigate the students’ satisfaction toward the guidance activities package based on multimedia for life skills development. The try out sample was 25 Matthayomsuksa 1 students at Suksasonggroh patthalung School in the first semester of the 2013 academic year and the sample consisted of 42 Matthayomsuksa 1 students at Rajjaprajanugroh 19 School Thung Song District Nakhon Si Thammarat Province in the first semester of the 2013 academic year. The sample was selected by using volunteer students. The experimental instruments were a guidance activities package based on multimedia for life skills development, life skills evaluation form and an evaluation on the students’ satisfactiontoward a guidance activities package based on multimedia for life skills development. The data obtained were analyzed by Mean () Standard Deviation(S.D.) and t-test Dependent. The results of the study revealed that ;
1) The problems of life skills development in guidance activities for Matthayomsuksa 1 Students were from the sample mostly came from poor families, they had no father or no mother or they were orphans, they lived with the parents which were not their own father or mother ; these cause the sample had no good role for living and had no life skills and found that the 4 life skills development were in poor and must be improved. The problems of life skills’ development in guidance activities for Mattha-yomsuksa 1 students found that the objective learning cohere very little with life skills elements especially in analytical thinking, determine and creative problem solving. Including an awareness and self-esteem and others. A learning management was not relate with students life skills supporting. The instruction media learning was not various, the measurement and evaluation were only from observation by answering the question and comment in class.
1) There were 12 of a guidance activities package based on multimedia for life skills development Matthayomsuksa 1 students at Rajjaprajanugroh 19 School ; were efficient since they were found to have the criteria of 78.07/81.73 which were above the determined criteria of 75/75
2) After using the guidance activities package based on multimedia for life skills development Matthayomsuksa 1 students at Rajjaprajanugroh 19 School, the students’ life skills evaluation score was higher than before using them. And there were Statistical Siqnificant at the .05 level.
3) The students’ satisfaction toward the guidance activities package based on multimedia for life skills development was at highest level.