สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและครูผู้สอนจำนวน 234 คน โดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.97 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติ ทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ผลการเปรียบเทียบสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจำแนก ตามตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปรียบเทียบตาม ตำแหน่ง วุฒิทางการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The States and Problems in using Information Technology for Education Administration of Educational Opportunity Expansion Schools under Suratthani Educational Service Area Office 3
This research to study the compare the states and problems in using information technology for education administration of Educational Opportunity Expansion Schools under Suratthani Educational Service Area Office 3. Data were collected from 234 administrator and teachers, by using the questionnaire with reliability index of 0.97. Data were analyze by using mean, standard deviation, t-test and one – way analysis of variance.
The results showed that the states in using information technology for education administration of Educational Opportunity Expansion schools under Suratthani Educational Service Area Office 3, were at high level in overall and individual aspects, the problem in using information technology for education administration, were at low level. In addition, the states in using information technology for education administration, classified by status, education background, experiences and school size, were non different but the problem in using information technology for education administration, classified by status and educational background, were different at statistical significance level of .05.