การแก้ปัญหาความกลัวและความกังวล ในการเรียนรายวิชาการวิจัย ทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

รอยพิมพ์ใจ เพชรกุล

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อลดความกลัวและความกังวลของนักศึกษาในการเรียนรายวิชา การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค CIPPA (2) ศึกษาสาเหตุ ที่ทำให้ความกลัวและความกังวลลดลง และ (3) หาวิธีการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประชากร คือนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษาพบว่า (1) หลังจากการเรียนรายวิชาการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจบแล้ว นักศึกษาส่วนมากความกลัวและความกังวลลดลง บางคนความกลัวและความกังวลลดลงมาก แต่เกือบทุกคน ยังกังวลอยู่บ้างเพราะยังไม่ทราบเกรด (2) สาเหตุที่ความกังวลลดลงส่วนมากเนื่องจากมีเพื่อนช่วยคิด เพราะ การทำงานเป็นกลุ่ม ทำวิจัยเสร็จทันเวลาและอาจารย์เอาใจใส่ไม่ดุและให้กำลังใจตลอดเวลาและ (3) การ ปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน นักศึกษาบางส่วนต้องการให้มีสันทนาการในการเรียนแต่ละครั้งเพื่อคลาย เครียด

 

Problem Solution on the Student’s Fear and Anxiety  in the Industrial Technology Research Subject  For Bachelor of Science Program  in Industrial Management Technology  at Nakorn Si Thammarat Rajabhat University

The purposes of this research were : 1. to reduce the student’s fear and anxiety in learning the Industrial technology research subject with CIPPA learning technique 2. To study causes that can reduce student’s fear and anxiety, and 3. To find out method for developing learning activity. The populations were the students Bachelor of Science Program in Industrial Management Technology at Nakhom Si Thammarat Rajabhat University in the second semester for the academic year 2013. The instruments for collecting data were: course specification, behavior observation form and unstructured interview. Statistics for data analysis were content analysis frequency and mean.

The results revealed that most at the student’s fear and anxiety were reduced – at a high level for some students. However, at all students still had anxiety because they haven’t known the grade yet. The fear and anxiety were reduce because: group learning activities, the Students could finish the research on time and the teacher attentive, kind and always moti­vated student. Finally recreative learning activities were requested from students.

Article Details

Section
บทความวิจัย