ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปราณี จุลภักดิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มาใช้บริการ จำนวน 381 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnair) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า

1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของการไฟฟ้าส่วน โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาคเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการให้บริการที่ตรงเวลา ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า

2. ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการที่มีเพศ อายุ และระดับการ ศึกษา พบว่าผู้มารับบริการที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา มีความพึงพอใจในด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ด้านการให้บริการที่ตรงเวลา ด้านการให้บริการอย่างพอเพียง ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง และด้านการให้ บริการอย่างก้าวหน้าไม่แตกต่างกัน

 

The purposes of the research were to study and compare the levels of satisfaction of customers towards the service of the Provincial Electric Authority, Chulapon Branch. The population of the study consisted of 381 customers of the Excise Area Office, Chulapon Branch, Nakhon Si Thammarat Province. The instrument used was a 5 rating-scale questionnaire which consisted of 5 aspects. The data were analyzed by means, percentages, standard deviations and frequency distributions.

The results of the study were as follows:

1. With regard to the customer’s level of satisfaction toward the service of the Provincial Electric Authority,Chulapon Branch in general it was at a high level. The aspect that had the highest level of satisfaction was the equitable service. Followed by timely service, ample service, continuous service and progressive service.

2. When comparing the customer’s levels of satisfaction according to sex, age and education, it was found that there was no significant difference.

Article Details

Section
บทความวิจัย