รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สุภาพร ศรศิลป์
วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล
สายสวาท เกตุชาติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชะอวด จำนวน 30 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และแผนการจัดการเรียนรู้ 3)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจผู้เรียน ผู้สอน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\inline \dpi{80} \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-Test Dependent)

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

1. สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PIP-TE MODEL มีองค์ประกอบ คือ หลักการ, เป้าหมาย, กระบวนการเรียนการสอนโดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 3. ขั้นปฏิสัมพันธ์กลุ่มย่อย 4. ขั้นถ่ายทอดความรู้ 5. ขั้นประเมินผล และสาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานร่วมกันและมีประสิทธิภาพ 75.27/75.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (75/75)

3. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก

 

The Model of Cooperative Learning to Enhance English Reading Skill in Foreign Language Substance for Mathayomsuksa 3 Students

The purposes of this research were ; 1) to study the problems and needs of using cooperative learning to enhance English reading skill ; 2) to develop the model of cooperative learning to enhance English reading skill in foreign language learning for Mathayomsuksa 3 ; 3) to study the effectiveness of cooperative learning to enhance English reading skill in foreign language substance for Mathayomsuksa 3.

The samples were 30 students of Mathayomsuksa 3 in Cha-Uat School by purposive sampling. The research instruments consisted of the following : 1) questionnaire of the opinions ) the cooperative learning model and lesson plans using cooperative learning 3) tests of learning achievements 4) questionnaire on students’ satisfaction to instructors and feedback. Statistics were applied as follows; percentage, mean (\inline \dpi{80} \bar{X}), standard deviation (SD) and t-test dependent.

The results of this research were ;

1. The current problems and needs of learning management of using cooperative learning to enhance English reading skill in foreign language substance for Mathayomsuksa 3 were at a high level.

2. The model of cooperative learning was called PIP-TE model. It consisted of principles, goals, learning processes, there were five stages of activities; 1) P : Preparation , 2) I : Introduction 3) P : Process of learning , 4) T : Transfer of knowledge and 5) E : Evaluation . and learning strands and cooperative working skills. The materials worked effectively with 75.27/ 75.17. (higher than criterion : 75/75)

3. The effectiveness of cooperative learning to enhance reading skill revealed that the students’ learning achievement of post-test was higher than that of pre-test with a significant level .05. The satisfaction of students on cooperative learning was at a high level.

Article Details

Section
บทความวิจัย