ปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากร ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 526,096 คน หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจากตารางของท่าโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาโดยแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 4 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบใช้ t-test และ f-test และสถิติแบบการวิเคราะห์แบบการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจำแนกตามเพศอายุระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนของประชาชนที่ต่างกัน พบว่า ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวม และรายด้านแตกต่างกันเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05 และ ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยภาพรวมสรุปได้ว่า ปัจจัยด้านการรับข่าวสารทางการเมืองและปัจจัยด้านผลตอบแทน ส่งผลต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวันครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05
Factors Influencing the Election of The President of Nakhon Si Thammarat Provincial Administration Organization.
The objectives of this descriptive research were 1) to study the level of factors influencing the election of the president of Nakhon Si Thammaratprovincial administration organization (PAO) 2) to compare the election of the president ofNakhon Si Thammarat PAO according to the personal factors, and 3) to study the factors influencing the election of the president ofNakhon Si Thammarat PAO. The study population was the 526,096 eligible voters for the election of the president ofNakhon Si Thammarat PAO. The sample of 400 eligible voters was calculated fromthe Taro Yamane’s formula with the 95% level of confidence. The 4-sections questionnaire was developed from textbooks, documents, and related articles to obtain the inclusive questions. The data was described with the frequency, percentage, mean, and standard deviation. Statistical analyses used in this research were t-test, f-test, and multiple regression analysis.
The findings of this research were 1) the factors influencing the election of the president of Nakhon Si ThammaratPAO was in the very much level 2) Sex, age, educational level, occupation, and salary were the factors influencing the election of the president of Nakhon Si ThammaratPAO in the overall picture with different influencing level 3) the overall significant external and internal factors influencing the election of the president of Nakhon Si ThammaratPAO were the perception of political news and the reward (alpha≤ 0.05).