การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

จักรพงษ์ บุญช่วย
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ทรงพล โสภณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 และเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ 1. สถานภาพของผู้ตอบคำถาม 2. ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้ 3. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีปัญหามากที่สุดคือ การจัดการศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษ (2.98) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (2.64) และการวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน (2.59) และแนวทางในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตพื้นที่พิเศษ ที่เสนอแนะที่ได้รับมากที่สุด คือ ควรมีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ตามเป้าหมายและเป้าประสงค์ของสถานศึกษา ควรจัดให้มีการอบรมครูให้สอดคล้องกับหลักสูตรพร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามตัวชี้วัดของแต่ละช่วงชั้น และควรส่งเสริมให้ครูร่วมกันวิเคราะห์ จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผลให้ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้

 

The Academic Administration of Educational Extension School in Special Areas under the Office of Suratthani Educational Service Area 1

This purposes of this study were to determine the problems and the way of the academic administration of educational extension school in special areas under the office of Suratthani Educational Service Area. 95 population of the research were the school administrators and teachers. The data collection instrument was questionnaire, and the statistics utilized in the data analysis were means (μ) and standard deviation (σ).

The findings of the study revealed the problems of the academic administration as a whole were at a moderate level. The most problematic aspects were the educational administration in special areas (2.98), the research for educational quality development (2.64), and the measurement and evaluation including prior learning transfer (2.59) respectively. The ways of the academic administration suggested at a high level were the meeting together among the administrators, the teachers, and the Basic Education Committee. Besides, teacher training on School Based curriculum development, teaching and learning materials should be done appropriately in analyzing learning objectives applied to produce evaluation tools should also be implemented.

Article Details

Section
บทความวิจัย