การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาวจังหวัดพังงา
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและความพร้อมในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา 2) จัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเน้นการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) พัฒนาหลักสูตรสำหรับเสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของชุมชน กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในตำบล พรุใน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำส่วนราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวในตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงาได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญภายในพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แนวการสนทนากลุ่มย่อย แนวการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม การเก็บข้อมูลภาคสนามและการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ดำเนินการควบคู่กันระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนกันยายน 2556 ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายด้านการท่องเที่ยวผู้นำชุมชนมีนโยบายที่จะพัฒนาเกาะยาวให้เป็นเกาะสุขภาพเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 2) ภาพรวมการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในชุมชน จุดเด่นคือ ความสวยงามและความเป็นธรรมชาติที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ความเป็นมิตรของคนในชุมชน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม 3) แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนจะพัฒนาตำบลพรุในให้เป็นเกาะสุขภาพ การรักษาสิ่งที่เป็นจุดเด่นของชุมชนซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวและการจัดการท่องเที่ยวโดยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 4) ศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ตำบลพรุในประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามและมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ 5) ความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพบว่า สามารถจำแนกชุมชนในตำบลพรุในตามระดับความพร้อม เป็น 3 กลุ่ม คือชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเต็มรูปแบบและได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวนานแล้ว ชุมชนที่มีความต้องการที่จะจัดการท่องเที่ยวโดยความร่วมมือของคนในชุมชนและชุมชนที่ยังไม่มีความต้องการที่จะจัดการท่องเที่ยวโดยความร่วมมือของคนในชุมชน
Knowledge Management to Develop the Management Potential of Community - based Tourism, Prunai Sub-district, Koh Yao District, Phangnga Province.
This action research aims to 1) study potential and readiness for being a tourist attraction of Prunai community, Koh Yao District, Phangnga Province community tourism 2) to manage knowledge about sustainable tourism administration focused on local guidance and 3) to develop a curriculum for promote the administrative potential of community tourism Providing The sample group, includes community leaders, government official leader local people, and the tourist in prunai sub-district , kohyao district, phangnga province by accidental random sampling The tools used for gathering data are comprised of group dialogue outlines, interview outlines, questionnaire, field data collection, and data analysis which are conducted between March and September, 2013. The study result indicates that 1) community leaders’ policy tend to develop the areas to be a healthy island for attracting visitors 2) most of the tourists are foreigners who prefer natural resources, way of life, and local culture. The highlights of the location include natural beauty, friendliness, hospitality, and traditional cultures. 3) the majority of people expect to maintain local sites, make them unique areas for healthy escapes, and attract tourists conducted by collaborating and co-operating. 4) Prunai Sub-district is consisted of 7 villages with magnificent scenery and sufficient potential to be attractions 5) there are 3 groups of community’s readiness namely experienced business tourism, expected business tourism, and non-expected business tourism.