การสร้างชุดการสอนแบบฝึกทักษะจาจวงเหยาของกู่เจิง สำหรับผู้เรียนอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาประสิทธิผลของชุดการสอนที่สร้างขึ้น โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอายุ 13 ปีขึ้นไปที่สมัครเรียนกู่เจิงที่โรงเรียน Music & Language House อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 คนซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ ผู้เรียนที่มีพื้นฐานทักษะด้านดนตรี แต่ไม่มีทักษะการเล่นกู่เจิงมาก่อน โดยผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเอง ใช้เวลาในการสอนคาบละ 60 นาที รวมทั้งหมด 50 คาบเรียน โดยจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึง วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือครูและคู่มือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
เมื่อนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดการสอนแบบฝึกทักษะจาจวงเหยาของกู่เจิงสำหรับผู้เรียนอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่สร้างขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.87 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ดนุชา สมใจดี. (2553). การสร้างชุดการสอนดนตรีไทยภาคปฏิบัติ "ซอด้วงและซออู้" เพลงแป๊ะสามชั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 : กรณีศึกษา โรงเรียนวัดท่าต้นกวาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิทยาลัยดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ.
พรสวรรค์ มณีทอง. (2556). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีพื้นบ้านวงสะล้อ ซอ ซึง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ,7 (1), 27.