การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงการผลิตหอมแดงภายใต้มโนทัศน์ภูมิศาสตร์การเกษตร: กรณีศึกษาบ้านยางชุมใหญ่ หมู่ที่1 อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้ต้องการนำเสนอถึงการคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงการผลิตหอมแดงภายใต้มโนทัศน์ภูมิศาสตร์การเกษตร: กรณีศึกษาบ้านยางชุมใหญ่ หมู่ที่1 อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามเกษตรกรผู้ที่ยังคงปลูกหอมแดงและเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการปลูกหอมแดงเป็นพืชชนิดอื่น ได้ทำการสัมภาษณ์ครัวเรือนที่ปลูกหอมแดงจำนวน 20 ครัวเรือน และเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนการปลูกหอมแดงเป็นพืชชนิดอื่นจำนวน 20 ครัวเรือน และนำมาวิเคราะห์ พบว่า เกษตรกรที่ยังคงปลูกหอมแดงอยู่ เนื่องมาจากปัจจัย 2 ด้าน คือ 1) การเป็นอาชีพจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งครอบครัวเคยทำมาก่อน โดยเป็นอาชีพที่มีการสืบทอดกันมา ทำให้เกษตรกรยังคงปฏิบัติตามๆ กันมจนถึงปัจจุบัน และ 2) เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว การปลูกหอมแดงได้สร้างรายได้หลักกับครอบครัว แม้ว่ารายจ่ายและรายรับจะมีมาก แต่ยังมีจุดความคุ้มทุนของเกษตรกร นอกจากนี้หอมแดงยังเป็นพืชเศรษฐกิจในชุมชน ส่วนเกษตรกรที่ตัดสินใจปรับเปลี่ยนการปลูกหอมแดงมาเป็นพืชชนิดอื่น เนื่องมาจากปัจจัย 2 ด้าน คือ 1) การเป็นผู้สูงอายุ และไม่มีแรงงานในการภาคการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรมีอายุที่มากขึ้น ไม่สามารถจะประกอบอาชีพการเกษตรได้ ประกอบกับในครัวเรือนไม่มีแรงงานที่ทำการเกษตร เนื่องมาจากวัยแรงงานได้อพยพเข้าไปทำงานในเมือง ทำให้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนพืชในการปลูก และ 2) การไม่มีต้นทุนในการลงทุนปลูกหอมแดง เกษตรกรไม่มีทุนในการลงทุนปลูกหอมแดง จึงต้องปรับเปลี่ยนพืชในการปลูก โดยเน้นปลูกพืชที่ไม่มีค่าใช้จ่ายสูง และสามารถเก็บผลผลิตขายได้ทุกวัน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุวรรณา ทองมั่น นิสากร กล้าณรงค์ และครองชัย หัตถา. (2561). การคงอยู่ของข้าวในพื้นที่ราบชายฝั่งทะเลกรณีศึกษา :
ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561.
วิทยา เต่าสา. (2552). การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตรและการปรับตัวของเกษตรกร: กรณีศึกษาบ้านทรายมูล
ตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒนา สุกัณศีล. (2557). ชนบทภาคเหนือ: ชุมชนและการเปลี่ยนแปลง. ในวสันต์ ปัญญาแก้ว (บก). สังคมเปลี่ยนผ่าน/เปลี่ยน
ผ่านสังคม: รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ 50 ปี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิบูลย์ เข็มเฉลิม. (2538). การแสดงปาฐกถาพิเศษ “ป๋วย อึ้งอากรณ์” ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร. คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทธิรักษ์ อุปนันท์. (2559). การปรับตัวของผู้ปลูกยางพาราในอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจ
การเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สายสกุล ฟองมูล.(2562). ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรที่มีผลต่อความั่นคงทางอาหารในจังหวัด
เชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37(1): 118-125.