การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์ บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

บุญฑวรรณ วิงวอน
Shengwei Hou
Boonchanit Wingworn
Daosawan Sukapun
Nichapa Charoenphakinrattana
Wilart Pompimon
Nanthanart U-pong

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์และหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ บ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการจัดเวทีชุมชน ผู้ให้ข้อมูล คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชนตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น ภาครัฐและเอกชน โดยทำการวิเคราะห์ด้วยเนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มีการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมกับเครือข่ายทั้งภายนอกและภายใน โดยการมีส่วนร่วมภายนอกได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภาครัฐและเอกชนในด้านงบประมาณการอบรมเชิงวิชาการ การศึกษาดูงานจากหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จ กิจกรรมถอดองค์ความรู้ของกลุ่ม ส่วนภายในมีการขับเคลื่อนจากคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้วางแผนงานเพื่อลงสู่การปฏิบัติในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมถึงผู้จัดหาวัตถุดิบที่ได้มีการประสานงานกันและร่วมคิด ร่วมกิจกรรม ร่วมประเมินผลงาน ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมกันแก้ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่วนแนวทางการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์กระเป๋าและเสื้อผ้าผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธ์แบบมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชน พบว่าสมาชิกกลุ่มได้ทำการเทียบเคียงผลิตภัณฑ์ที่ได้ไปศึกษา      ดูงาน ด้วยการนำผ้าฝ้ายทอและผ้าใยกัญชงภายในชุมชนมาประยุกต์และแปรรูปเพื่อให้เกิดลวดลายและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ 


โดยมีลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มมีการดัดแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงมีการสร้างตำนาน เรื่องเล่าหรือเรื่องราวของวิถีชีวิตชาติพันธุ์ผ่านการสื่อสารด้วยรูปภาพและลวดลายบนผืนผ้า ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งยังไม่เคยทำมาก่อนและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยการนำกลไกของการตลาดดิจิทัลมานำเสนอผลิตภัณฑ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อีกทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและคนในชุมชนบ้านแม่แจ๋มมีรายได้เพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดส่งผลให้คุณภาพชีวิตของคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adair, J. E. (1996). Effective Innovation: How to Stay Ahead of the Competition. London: Pan Books.

Chapin, F. S. (1997). Social Participation and Social Intelligence. (3rd ed). New York : Longman.

Cohen, J. M. , & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Centre for international Studies. New York: Cornell University Press.

Denzin, N. , & Lincoln, Y., 1995, 'Transforming qualitative research methods. Is it a revolution?', Journal of Contemporary Ethnography, 24(3); 349–358.

Department of Agricultural Extension. (2019). Community Enterprise Information System.

From https://smce.doae.go.th/news.php Retrieved 25 October 2021.

Department of Agricultural Extension. (2017). Strategic Plan of the Department of Agricultural Extension 2017-2021. From https://www.scirp.org/(S(351jmbntvnsjt1aadkozje))/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=2372019 Retrieved 25 August 2021.

Ēkkawit Na Thalāng. (1999). Overview of Thai wisdom. (2rd ed.). Bangkok: Amarin Printing.

Kosaikanon, S. , & Thongdeelert, P. (2019). Development of community enterprise potential assessment form by participation according to opinion of Sakaeo community enterprise representatives, Sakaeo Province. Journal of Vocational and Technical Education (JVTE). 9(17); 1-9.

Lampang Provincial Office. (2020). The Annual Government Service Plan of the Provinces, Group of

Provinces. From http://www.lampang.go.th/menu_gov1.php Retrieved 25 October 2021.

Minrada KHotsriwong, & Satapron Mongkolsrisawat. (2016). Development of community enterprises to success A case study of silk weaving groupin wailum village, maba Subdistrict, Tungkawluang District, Roiet Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(3); 1632-1645.

Mueang Pan District Community Development Office, Lampang Province. (2021). Community information, Mueang Pan District. From https://district.cdd.go.th/muangpan/ Retrieved 6 December 2021.

Nipapan Jensantikul. (2018). The development of community enterprise in lower central provinces region 1 to enhance its competitiveness in the ASEAN community. Political Science and Public

Administration Journal. 10(1); 95-120

Office of the National Economics and Social Development Council. (2022). Knowledge and news on

economic and social development of the country. From https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=index Retrieved 15 December 2021.

Office of Small and Medium Enterprise Promotion. (2020). Issue a Measure to Support Entrepreneurs.

From https://www.smeone.info/posts/view/4496 Retrieved 16 December 2021.

Rangus, K., & Slavec, A. (2017). The interplay of decentralization, employee involvement and absorptive capacity on firms’ innovation and business performance. Technological Forecasting and Social Change, 120(1); 195-203.

Rung KaewDaeng. (1999). Local Wisdom to Learning; Revolution in Thai Education, Bangkok : Matichon.

Sapsanguanboon, W. , & Auanguai, P. (2020). The development of innovation in manufacturing industry to

enhance enterprise competitiveness. Journal of Administrative and Management Innovation. 8(2); 89-100.

Seree Pongpit. (2005). Base of Thinking from Master Plan to Community Enterprise. Bangkok: Charoenwit Printing.

Sombat Namburi. (2019). Innovation and administration. The Journal of Research and Academics. 2(2); 121-133.

Thetchip, P. (2018). The development of business service innovation in the digital age. Paper present at 2nd UTCC Academic Day, Bangkok, University of the Thai Chamber of Commerce, Bangkok, Thailand.

Utai Parinyasutinun. (2017). Community enterprise: The paradox of the competition of business. Silpakorn University Journal. 37(2); 131-150.

Wasi, P. (1999). Sufficiency Economy and Civil Society: Ways to Revive the Social Economy. Bangkok: folk doctor.