การคุ้มครองทางสังคมและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม สำหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ

Main Article Content

สาทิณี ศิรไพบูลย์

บทคัดย่อ

การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา กัมพูชา และลาว) ในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ มีส่วนช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของไทยขยายตัว ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการไทย อย่างไรก็ตามการให้ความสำคัญกับการนำเข้าแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่ตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้นไม่เพียงพอควรมีการให้ความสำคัญทางด้านสังคมด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองทางสังคมอย่างเหมาะสมผ่านการประกันสังคม ข้อดีของระบบประกันสังคมไทยสาหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ การให้สิทธิแก่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติอย่างครอบคลุมทุกด้าน เมื่อเทียบกับมาตรฐานของ ILO ถือว่าให้เทียบเท่ากับมาตรฐานสากล (ถึงแม้ว่าเงื่อนไขและผลประโยชน์ที่ได้รับจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี) และถือเป็นการให้ความคุ้มครองครอบคลุมขั้นต่ำในเรื่องของการเจ็บป่วยจากการทำงาน และการเจ็บป่วยที่ไม่ได้สืบเนื่องจากการทางานซึ่งเป็นสิทธิที่แรงงานสมควรได้รับ


ข้อควรทบทวนเรื่องระบบประกันสังคมไทยสาหรับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ มีบางสิทธิที่มีเงื่อนไขไม่เหมาะสมสาหรับแรงงาน อันได้แก่ สิทธิกรณีชราภาพ ที่ไม่เหมาะกับสภาพของแรงงานที่เข้ามาทำงานในระยะสั้น รวมถึงสิทธิกรณีว่างงานเพราะเป้าหมายในการนำเข้าแรงงานต่างด้าวก็เพื่อบรรเทาการขาดแคลนแรงงานการให้สิทธิดังกล่าวนี้ไม่ได้ตอบสนองต่อเป้าหมายในการนาเข้าแรงงานทั้งนี้เมื่อประเทศต้นทางมีความพร้อมแรงงานต่างด้าวสามารถสะสมและโอนผลประโยชน์อันพึงได้รับเพื่อกลับไปรับสิทธิในประเทศของตนในอนาคตภายใต้ข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาล ส่วนสิทธิกรณีคลอดบุตร และกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นสิทธิที่แรงงานใช้สิทธิมากที่สุด รัฐควรพิจารณาว่าจะให้สิทธิเหล่านี้แก่แรงงานต่างด้าวและคู่สมรสอย่างไร รัฐควรระบุเงื่อนไขในการขอใช้สิทธิให้ชัดเจนและรัฐควรคานึงถึงเรื่องผู้ติดตามด้วยว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีผู้ติดตามเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้นหรือไม่

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)