มาตรฐานจริยธรรมการตีพิมพ์วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
    1. ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความ ซึ่งไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณะ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ
    2. ผู้เขียนบทความต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่คัดลอกผลงาน เปลี่ยนแปลง ปิดบัง บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
    3. ผู้เขียนบทความที่นำผลงาน เนื้อหา รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักวิชาการ
    4. ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฎอยู่ในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการศึกษาวิจัย และรับทราบการส่งบทความมายังวารสาร
    5. ข้อความในบทความ ถือเป็นความเห็น และความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
    1. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความด้วยความเต็มใจ ตามความสามารถทางวิชาการ
    2. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพของบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น
    3. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาบทความจากคุณภาพทางวิชาการ โดยต้องให้เหตุผล ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาบทความของผู้เขียน รวมถึงแจ้งผลการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษรต่อบรรณาธิการวารสารตามระยะเวลาที่บรรณาธิการกำหนด
    4. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่นำข้อมูล ผลการศึกษา หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความที่พิจารณา ไปใช้ก่อนการเผยแพร่บทความ

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
    1. บรรณาธิการทำหน้าที่รับบทความและจัดกระบวนการประเมินพิจารณาบทความในรูปแบบ double blind peer review เพื่อนำการตีพิมพ์ลงในวารสาร ตลอดจนเป็นผู้ดูแลกระบวนการตีพิมพ์บทความของวารสาร เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตสาขาการรับของวารสาร ตามมาตรฐานทางวิชาการ
    2. บรรณาธิการต้องสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ โดยไม่ขัดกับเงื่อนไขทางจริยธรรม และศีลธรรม
    3. บรรณาธิการจะเผยแพร่เนื้อหาบทความและดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องทางวิชาการ โดยไม่ขัดกับเงื่อนไขทางจริยธรรม และศีลธรรม
    4. บรรณาธิการจะปรับปรุงพัฒนาคุณภาพทางวิชาการของวารสารอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาบทความด้วยความเป็นกลางโดยปราศจากอคติ ใด ๆ ของผู้แต่ง และผู้ประเมิน รวมถึงไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางวิชาการมาตัดสินใจรับหรือปฏิเสธบทความ
    5. บรรณาธิการเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ หรือความผิดพลาดกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้วโดยทันท
    6. บรรณาธิการจะไม่นำข้อมูล ผลการศึกษา หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความไปทำซ้ำ เขียนใหม่ หรือเผยแพร่ก่อนการเผยแพร่บทความ
    7. บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้เขียนบทความ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ