เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • [ฟอร์มบทความ] สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม สามารถดาวน์โหลด Template การเตรียมต้นฉบับบทความ ได้ที่: กดเพื่อดาวน์โหลด
  • บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม ต้องเป็นบทความไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และเป็นบทความที่ไม่อยู่ระหว่างการส่งให้วารสารอื่น

  • ไฟล์บทความต้นฉบับจัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word ระบบปฏิบัติการวินโดว์ (ประเภทไฟล์ .doc, .docx)
  • สำหรับแหล่งข้อมูลอ้างอิงออนไลน์ที่สามารถระบุแหล่งที่มาเข้าถึงได้ โปรดระบุลิงค์ URLs เพื่อเข้าถึงในส่วนบรรณานุกรมภายในบทความร่วมด้วย
  • ผู้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ทำการตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสารวิจัยสังคม อาทิ ความยาวเนื้อหา รูปแบบอักษร ขนาดอักษร การเว้นวรรคตอน การเคาะ Spacebar (ใช้เพียง 1 เคาะ) การวางตำแหน่งภาพและตารางให้พอดีกับขนาดหน้าตามเกณฑ์ที่วารสารวิจัยกำหนด (โปรดพิจารณาในหัวข้อ "คำแนะนำผู้แต่ง")
  • บทความควรใช้ภาษาทางวิชาการอย่างเหมาะสม รวมถึงการอ้างอิงภายในเนื้อหาและบรรรณานุกรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์รูปแบบ APA 7th Edition
  • บทความที่ถูกส่งมาให้วารสารวิจัยสังคมผ่านการพิจารณาเบื้องต้น จะได้รับการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) ทั้งนี้ บทความผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ท่านจึงถือว่าบทความผ่านเกณฑ์การประเมินบทความของวารสารวิจัยสังคม

คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์วารสารวิจัยสังคม

1. บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม ต้องเป็นบทความไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และเป็นบทความที่ไม่อยู่ระหว่างการส่งให้วารสารอื่น

2. ประเภทไฟล์ ต้นฉบับพิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows (.doc, .docx)
สำหรับผู้ที่สนใจส่งบทความเพื่อตีพิมพ์กับทางวารสารวิจัยสังคม สามารถดาวน์โหลด Template การเตรียมต้นฉบับบทความ ได้ที่: --> กดเพื่อดาวน์โหลดตัวอย่างการเตรียมต้นฉบับ (Template)

3. รายละเอียดต่าง ๆ ภายในบทความเพื่อตีพิมพ์กับวารสารวิจัยสังคม
     3.1 ขนาดกระดาษ กระดาษ A4 (21.0 x 29.7 ซ.ม.)
     3.2 การกำหนดขอบหน้ากระดาษ ส่วนบน (2.50 ซ.ม.) และส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนล่าง (1.90 ซ.ม.)
     3.3 ความยาวของเนื้อหา ประมาณ 10-20 หน้า มีจำนวนคำไม่เกิน 7,000 ตัวอักษร
     3.4 รูปแบบอักษร ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK
     3.5 ขนาดอักษร (ตามที่ระบุใน Template การเตรียมต้นฉบับบทความ)
          1) ชื่อบทความ - ใช้ตัวหนา ชิดซ้าย ขนาด 18 พอยน์
          2) ชื่อผู้แต่ง - ใช้ตัวปกติ ชิดซ้าย ขนาด 15 พอยน์
          3) สังกัด และที่อยู่ - ใช้ตัวเอียง ชิดซ้าย ขนาด 15 พอยน์
          4) ผู้ประพันธ์บรรณกิจ/ผู้ประพันธ์ร่วม และอีเมล - ใช้ตัวปกติ ชิดซ้าย ขนาด 15 พอยน์
          5) หัวข้อภายในบทความ - ใช้ตัวหนา ชิดซ้าย ขนาด 15 พอยน์
          6) เนื้อหาภายในบทความ - ใช้ตัวปกติ ขนาด 15 พอยน์
          7) เนื้อความส่วนบรรณานุกรม - ใช้ตัวปกติ ขนาด 15 พอยน์
     3.6 บทความมีส่วนบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) และมีการระบุคำสำคัญ (Keywords) ทั้งนี้ บทคัดย่อแต่ละส่วน มีจำนวนคำไม่เกิน 250 ตัวอักษร 
     3.7 บทความที่มีการระบุ จริยธรรมการวิจัย การเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย / ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งผู้ให้ทุนวิจัย ระบุไว้ในส่วนกิตติกรรมประกาศ 
     3.8 ผู้เขียนบทความมีการตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น การตัวสะกดคำ การเว้นวรรคตอน ความเหมาะสมของเนื้อหาแต่ละย่อหน้าและการใช้ภาษา รวมถึงการอ้างอิงภายในเนื้อหาและบรรณานุกรมตามหลักการอ้างอิง APA 7th Edition

4. สำหรับบทความวิจัย 
     ควรมีองค์ประกอบ ลำดับการเขียน และการระบุหัวข้อภายในบทความให้ชัดเจน ดังนี้
     4.1 บทนำ (Introduction) เนื้อหาที่มีความครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัยพร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความและวัตถุประสงค์ของบทความ
     4.2 ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) กล่าวถึงกรอบแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้อธิบายเนื้อหาภายในบทความชิ้นนี้
     4.3 ระเบียบวิธีการศึกษา (Methodology and method) ที่สามารถอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยอย่างชัดเจน
     4.4 ผลการศึกษา (Result) ที่สามารถอธิบายข้อค้นพบจากการทำวิจัยที่เกิดขึ้น
     4.5 อภิปรายผล (Discussion) การขมวดประเด็น หรือการประมวลผล หรือการวิพากษ์ ต่อข้อค้นพบจากการศึกษา นำไปสู่การเชื่อมโยงหรือเปรียบเทียบทางแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง หรือข้อค้นพบทางวิชาการที่ผ่านมา
     4.6 สรุป (Conculusion)
     4.7 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
     4.8 บรรณานุกรม (References) ทั้งในส่วนการอ้างอิงเนื้อหา (Citations) และการอ้างอิงบรรณานุกรมตามรูปแบบ APA 7th Edition

5. สำหรับบทความวิชาการ
     ควรมีองค์ประกอบ ลำดับการเขียน และการระบุหัวข้อภายในบทความให้ชัดเจน ดังนี้
     5.1 บทนำ (Introduction) แสดงความสำคัญ ที่มา และวัตถุประสงค์ของบทความ
     5.2 เนื้อหา  
          5.2.1 มีหัวข้อและเนื้อหา มีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ
          5.2.3 มีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้ กรอบแนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการผ่านมุมมองของผู้เขียน เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน และนำเสนอแนวคิดใหม่
      5.3 บทสรุป (Conculusion) แสดงผลลัพธ์ที่มีความสำคัญของบทความ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์

6. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์วารสารวิจัยสังคม
     กองบรรณาธิการฯ มีการพิจารณาบทความที่ส่งเข้ามาและเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิคัดกรองบทความ เพื่อพิจารณาคุณภาพความเหมาะสมของบทความก่อนการจัดพิมพ์ (สามารถพิจารณารายละเอียดหัวข้อ "กระบวนการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ") โดยการประเมินบทความสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
     6.1 กรณีที่ผลการพิจารณาให้จัดพิมพ์ได้ หรือต้องมีการปรับปรุงแก้ไขก่อน - กองบรรณาธิการฯ จะแจ้งให้ทราบ โดยผู้เขียนจะต้องดำเนินการปรับแก้ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด และกองบรรณาธิการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตกแต่งต้นฉบับความถูกต้องตามหลักภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
     6.2 กรณีที่ผลการพิจารณาไม่สามารถจัดพิมพ์ได้ กองบรรณาธิการฯ จะแจ้งและส่งต้นฉบับผลงานคืนแก่ผู้เขียน

7. การอ้างอิงเอกสาร   
     ผู้ส่งบทความจะต้องมีการเขียนอ้างอิงเอกสารอื่นหรือเขียนแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในตอนท้ายของบทความ โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบ APA 7th Edition ซึ่งผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของการอ้างอิงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วารสารวิจัยสังคัมกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยผู้ส่งบทความต้องยึดตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
      7.1 รูปแบบการอ้างชื่อบทความในวารสาร
ภาษาไทย:
ชื่อผู้เขียน. /(ปีที่พิมพ์). /ชื่อบทความ. /ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
ภาษาอังกฤษ:
Surname, initial. (year)./title./journal name,/volume: page number.
ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
ชนาภิวัฒน์ ขันทะ และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2020). ปลาแดก: การเชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมการบริโภคของคน อีสาน. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(2), 96-109.
ภาษาอังกฤษ:
Komin, W., Thepparp, R., Subsing, B., & Engstrom, D. (2021). Covid-19 and its impact on informal sector workers: a case study of Thailand. Asia Pacific Journal of Social Work and Development, 31(1-2), 80-88.
     7.2 รูปแบบการอ้างชื่อหนังสือ
ภาษาไทย:
ชื่อ นามสกุลผู้เขียน./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์.
ภาษาอังกฤษ:
Author, A. A. (Year)./Title of the book/(Edition ed.)./Publisher.
ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2563). พฤติกรรมสุขภาพ : แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภาษาอังกฤษ:
Hummel, C. (2021). Why Informal Workers Organize: Contentious Politics, Enforcement, and the State. Oxford University Press.
     7.3 รูปแบบการอ้างอิงวิทยานิพนธ์ 
ภาษาไทย:
ชื่อ นามสกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ:
Author, A. A. (Year)./Title/[Unpublished doctoral or master’s thesis]./Name of the Institution awarding the degree.
ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเขียนบรรณานุกรมออนไลน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภาษาอังกฤษ:
Jongh, L. (2021). Governing street and market vending in Kitwe, Zambia: Shifting rationalities and vendors' individual and collective agency [Doctoral dissertation, Department of Human Geography]. Stockholm University.
     7.4 รูปแบบการอ้างอิงเว็บไซต์
ภาษาไทย:
ชื่อ นามสกุลผู้เขียน./(วัน/เดือน/ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./ชื่อเว็บไซต์./URL
ภาษาอังกฤษ:
Author, A. A./(Year, Month date)./Title of the work: Subtitle./Website name./URL
ตัวอย่างการอ้างอิง
ภาษาไทย:
สรญา แสงเย็นพันธ์. (2566). 10 เว็บไซต์จับคู่สี ออกแบบงานได้สวยทันตา. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://www.nupress.grad.nu.ac.th/จับคู่สี/
ภาษาอังกฤษ:
Sparks, D. (2019). Women’s wellness: Lifestyle strategies ease some bladder control problems. Mayo Clinic. https://newsnetwork.mayoclinic.org/discussion/womens-wellness-lifestyle-strategies-ease-some-bladder-control-problems/