นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์
     วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์ บทความวิจัย บทความวิชา บทปริทัศน์หนังสือ ในด้านสังคมศาสตร์ การพัฒนาสังคม การวิจัยทางสังคม เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาหรือผู้ที่มีความสนใจ

กระบวนการพิจารณาบทความ 
     1. กองบรรณาธิการฯ ทำการตรวจสอบบทความเบื้องต้น (ทั้งในส่วนเนื้อหาและรูปแบบตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ) ร่วมกับการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นดังกล่าว ทั้งนี้ การประเมินบทความด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ  3 ท่าน ต่อ 1 บทความ (สอดรับกับหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564)
     2. กองบรณาธิการฯ ทำการส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบ ThaiJO ด้วยการประเมินบทความในรูปแบบ การปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-Blinded) ทั้งนี้ บทความจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน จึงถือได้ว่าบทความดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมินบทความของวารสารวิจัยสังคม
     3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความทำการส่งข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะเพื่อประเมินคุณภาพทางวิชาการ ลงในแบบฟอร์มข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ และส่งคืนกลับยังกองบรรณาธิการฯ
     4. กองบรรณาธิการฯ ส่งข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินนบทความไปยังผู้เขียนบทความเพื่อปรับแก้ไข และผู้เขียนส่งต้นฉบับ (ฉบับแก้ไข) กลับมายังกองบรรณาธิการเพื่อพิจารณาความสมบูรณ์ของบทความ
     5. บทความพิเศษ ไม่ผ่านการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ

ระยะเวลาการดำเนินการการพิจารณาบทความ (ตลอดทั้งกระบวนการ) 
     กระบวนการดำเนินการบทความ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน

การออกใบตอบรับการตีพิมพ์บทความ
     ทางกองบรรณาธิการฯ จะใบตอบรับการตีพิมพ์บทความให้ผู้เขียน ก็ต่อเมื่อบทความมีความสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว (บทความมีความสมบูรณ์มีการปรับแก้ตามข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว)

ประเภทของบทความ
     วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ มีนโยบายรับพิจารณาบทความ 4 ประเภท คือ
     1. บทความพิเศษ ประกอบด้วย บทความรับเชิญ บทวิจารณ์หนังสือ บทความปกิณกะ 
     2. บทความวิจัย
     3. บทความวิชาการ
     4. บทความปริทัศน์ 

ภาษาที่รับตีพิมพ์ 
     ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

กำหนดออก
     วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้
        - ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
        - ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 

นโยบายการเข้าถึงบทความ (Open Access Policy)
     วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์มีนโยบายเปิด การเข้าถึงแบบเปิดกว้าง (Open Access) ในเนื้อหาบทความที่ถูกเผยแพร่ ตามหลักการที่ว่า วารสารวิจัยสังคมสนับสนุนการทำให้การเผยแพร่ผลงานวิจัย - ผลงานวิชาการสู่สาธารณะโดยเสรี เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการให้กว้างขวางเพื่อสร้างปัญญาสาธาณะและการขับเคลื่อนสังคมให้ดียิ่งขึ้น

เจ้าของวารสาร
     สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 
     วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ (Page Charge)