Citizen Designs: City-Making and Democracy in Northeastern in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
หากกล่าวถึงการสร้างหรือการปรับตัวเข้าสู่กระบวนการเป็นประชาธิปไตยแล้วหลายประเทศในเอเชียอาจจะไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีที่สะท้อนความสำเร็จของกระบวนการนี้ หากแต่ยังแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมืองประเทศไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับอีกหลายประเทศที่เผชิญกับวิกฤตซ้ำซากจากการแทรกแซงของกองทัพ รัฐบาลที่ล้มเหลว และสังคมที่แตกร้าวโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยหรือ 'ภาคอีสาน' มักถูกกล่าวถึงในฐานะพื้นที่ที่มีความสำคัญในฐานะภูมิภาคที่เป็นปัญหาและการต่อต้านขัดขืน
เพื่อทำความเข้าใจต่อความขัดแย้งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นการต่อสู้ร่วมสมัยเกี่ยวกับการสร้างความเป็นพลเมือง ข้อจำกัดและผลกระทบของการขยายตัวของเมืองในประเทศไทย อิลี อิลินอฟ นักมานุษยวิทยาทางการเมืองและสิ่งแวดล้อม แห่งมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย นครเวลลิงตัน (Victoria University of Wellington) ประเทศนิวซีแลนด์ ได้สำรวจชุมชนผู้บุกรุกริมทางรถไฟในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่เทศบาลขนาดใหญ่ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาของเขาพบว่า การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเป็นพลเมืองในพื้นที่ศึกษาของเขานั้น สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการและลักษณะของ Citizen Designs หรือ ‘การออกแบบพลเมือง’ ที่ไม่ได้เป็นเพียงการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพของการตั้งถิ่นฐานและชีวิตส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย แต่ยังแสดงให้เห็นถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันทางการเมืองและผลักดันให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย นักเคลื่อนไหว และสถาปนิก ตลอดจนแรงผลักดันและประสบการณ์ที่ได้รับจากความท้าทายทางสังคมและการเมืองรอบตัว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์