การควบคุมการใช้อำนาจปกครองทางพฤตินัยตามประมวล กฎหมายอาญาภายใต้กรอบความคิดเรื่องหลักประโยชน์สูงสุด ของเด็ก: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และประเทศเยอรมนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมาตรการทางอาญาในการคุ้มครองเด็กจากการใช้อำนาจปกครองในต่างประเทศมีการพิจารณาการคุ้มครองเด็กครอบคลุมการกระทำของผู้ใช้อำนาจปกครองทั้งอำนาจปกครองทางนิตินัยและทางพฤตินัยในลักษณะที่เป็นการพิจารณาถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก ขณะที่การคุ้มครองเด็กจากการใช้อำนาจปกครองในระบบกฎหมายไทยยังคงมีความไม่ครอบคลุมหรือสร้างความสับสนในการใช้บังคับกฎหมายเพื่อการคุ้มครองเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความผิดที่กระทบต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของเด็ก
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้อำนาจปกครองทางพฤตินัยตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษาทฤษฎี หลักการ และบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กจากการใช้
อำนาจปกครองทางพฤตินัย ทั้งได้ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาญาในประเทศอังกฤษและประเทศเยอรมนี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงการนำมาตรการทางอาญามาใช้ในการคุ้มครองเด็กจากการใช้อำนาจปกครอง
ทางพฤตินัยให้มีความเหมาะสมสอดคล้องตามหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กและบริบทของสังคมไทยต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์