มานุษยวิทยา สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

อมรา พงศาพิชญ์

บทคัดย่อ

เนื้อหาของบทความนี้มี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นประสบการณ์การทำงานวิชาการในฐานะผู้สอนและผู้ทำวิจัย เป็นการทบทวนการทำงานทางมานุษยวิทยาทั้งในเรื่องพัฒนาการทางแนวคิดทฤษฎี และบทบาทของสาขาวิชามานุษยวิทยาในการทำงานสหสาขาวิชา โดยมาจากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านและนักวิชาการต่างสาขา คำถามที่ได้รับจากคนในพื้นที่ผสมผสานกับพัฒนาการทางวิชาการในระดับสากล ทำให้มีการปรับกระบวนทัศน์ด้านการพัฒนา นำไปสู่การปรับวิธีการทำงานและการตั้งโจทย์ที่มีลักษณะสหสาขาวิชา ส่วนที่สองมีเนื้อหาเชิงนโยบายระดับสากล จากการที่สหประชาชาติพบว่ากระบวนทัศน์การพัฒนากระแสหลักแนวทุนนิยมเสรีและประชาธิปไตยเสรีที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบทางสังคมต่อผู้คนกลุ่มต่าง ๆ อย่างมาก จึงได้เกิดการปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาสู่การพัฒนาที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง โดยสนับสนุนแนวคิดสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีความหมายว่า กระบวนการพัฒนาในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการ ไปพร้อมกันเป็นกระบวนการเดียวกัน และเป็นการพัฒนาที่ใช้ทรัพยากรในปัจจุบันอย่างเหมาะสมโดยไม่รบกวนทรัพยากรในอนาคต

Article Details

บท
บทความพิเศษ (Special Article)