ย้อนพินิจการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเกาหลีใต้: ปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ระหว่างชนชั้นนำ ภาคประชาสังคม และตัวแสดงจากภายนอก

Main Article Content

นิธิ เนื่องจำนงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งหวังที่จะย้อนพินิจการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ ที่ผ่านมาการศึกษามักจะมุ่งเน้นไปที่บทบาทเฉพาะของตัวแสดงแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะเป็นประชาสังคม ชนชั้นนำ หรือกระทั่งตัวแสดงภายนอก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา บทความนี้เสนอว่าการศึกษาการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยควรมองปฏิสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ของตัวแสดงสำคัญเหล่านี้ ในภาพรวม ปฏิสัมพันธ์โดยธรรมชาติแล้วมักจะมีลักษณะเชิงยุทธศาสตร์ในแง่ที่ว่า การดำเนินการของตัวแสดงหนึ่ง ๆ อาจส่งผลตามมาในลักษณะของการเสริมพลังหรือจำกัดทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ของตัวแสดงอื่น ๆ ในกรณีของเกาหลีใต้จากบทบาทสำคัญของภาคประชาสังคม ประกอบกับแรงกดดันที่เห็นได้ชัดจากสหรัฐอเมริกาในด้านหนึ่งได้เสริมแรงให้กับชนชั้นนำในฝ่ายประชาธิปไตย ดังเช่นชนชั้นนำฝ่ายค้านและชนชั้นนำสายอ่อนในระบอบอำนาจนิยม ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งได้จำกัดทางเลือกของชนชั้นนำสายแข็งที่จะปราบปรามขบวนการประชาธิปไตยด้วยกำลัง ในท้ายที่สุดรัฐบาลอำนาจนิยมถูกบีบให้เปลี่ยนถ่ายอำนาจด้วยวิถีทางแบบประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)