การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและผลกระทบที่เกิดขึ้น: กรณีศึกษาการทำไร่กล้วยหอมขนาดใหญ่ ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2557 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ริเริ่มโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ทำให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศจีนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในโลก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็อยู่ในเส้นทางนี้และยังเป็นตลาดสำหรับประเทศจีนเช่นกัน นอกจากการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงานแล้ว ยังมีทุนด้านการท่องเที่ยวและทุนทางด้านเกษตรกรรมที่เข้ามาสู่ภาคเหนือของทั้ง สปป.ลาว และประเทศไทย บทความนี้นำเสนออิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนทำไร่กล้วยหอมขนาดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมทั้งการรับมือของหน่วยงานภาครัฐ งานศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม จากนั้นใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่ออภิปรายว่าอำนาจทางอ้อมกับการค้าและห่วงโซ่มูลค่าส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นอย่างไร
การศึกษาพบว่า การขยายพื้นที่ไร่กล้วยหอมที่เป็นการลงทุนจากประเทศจีนมายังประเทศไทยนั้น เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หลังจากที่รัฐบาล สปป.ลาว ไม่ต่อสัญญาการเช่าพื้นที่ทำการเกษตรของทุนไร่กล้วยหอมจากประเทศจีน แม้ว่าการลงทุนทำไร่กล้วยดังกล่าวจะทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ดีขึ้น แต่ยังมีความกังวลเรื่องสารเคมีที่ใช้ในเกษตรกรรม ซึ่งอาจส่งผลในระยะยาวเพราะสารเคมีอยู่ทั้งในผิวดินและอาจซึมลงในแหล่งน้ำ นอกจากนั้นยังมีประเด็นเรื่องความเพียงพอของแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร การเข้ามาของแรงงานอพยพ ฯลฯ ซึ่งบทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่จะต้องพิจารณาเพื่อไม่ให้การลงทุนการทำไร่กล้วยหอมจากประเทศจีนส่งผลกระทบด้านลบ ทั้งต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์