ทางเลือกทางรอดของคนทำงานในระบบอาหารต่อความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางโควิด-19

Main Article Content

รัศมี เอกศิริ
ศยามล เจริญรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นการศึกษาคนทำงานในระบบอาหารพื้นที่กรุงเทพฯ ที่มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกละเลย แม้ว่าเป็นคนทำงานด่านหน้า ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในช่วงมีการประกาศปิดเมือง เป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ มากกว่าคนทำงานกลุ่มอื่น เนื่องจากต้องตอบสนองความมั่นคงทางอาหารสำหรับทุกคนในภาวะวิกฤติโควิด-19 การรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณจากการสำรวจข้อมูลกลุ่มคนทำงานในระบบอาหาร จำนวน 439 คน ที่มาจากกลุ่มคนทำงานในระบบอาหาร 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มการกระจายอาหาร และ 2) กลุ่มบริการ ค้าปลีก ค้าส่ง และกลุ่มขนส่ง ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและการพูดคุยกับกลุ่มผู้ค้าบางส่วนเพิ่มเติม


ผลการศึกษาพบว่า คนทำงานในระบบอาหารส่วนมากเป็นผู้มีรายได้น้อย การศึกษาไม่สูงมาก ส่วนใหญ่เป็นคนทำงานนอกระบบ ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ มีทางเลือกในการทำงานค่อนข้างน้อยกว่าคนกลุ่มอื่น ในภาวะวิกฤติโควิด-19 จำเป็นต้องเลือกระหว่างความเสี่ยงต่อการติดเชื้อกับภาวะอดตาย เพราะปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ในการป้องกันตนเอง ไม่ได้รับความสำคัญ อีกทั้งขาดมาตรการในการดูแลในมิติความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้น ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 รัฐควรมีมาตรการในการคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกคน รวมถึงกลุ่มคนทำงานในทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางมนุษย์อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)