ชีวิตและงานของคนเก็บของเก่าในภาวะวิกฤติโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
คนเก็บของเก่า หรือรับซื้อขายของเก่าเป็นแรงงานด่านหน้าที่เผชิญความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต และการทำงานก่อนสถานการณ์การระบาด และยังคงเผชิญกับสถานการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นระหว่างการระบาดของโรคโควิด-19 การศึกษาผลกระทบ และการปรับตัวของคนทำงานในอาชีพเก็บของเก่า หรือรับซื้อขายของเก่าระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการทำความเข้าใจสถานการณ์ที่คนเก็บของเก่า หรือรับซื้อขายของเก่าเผชิญอยู่ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามทั้งผ่านแบบสอบถามออนไลน์ และการสัมภาษณ์โดยตรง ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และยินดีให้ข้อมูล สามารถรวมข้อมูลจากคนเก็บของเก่า ได้ทั้งหมด จำนวน 58 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 2 คน
ผลการศึกษาพบว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้คนเก็บของเก่า หรือรับซื้อขายของเก่าได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงของโรค และนโยบายของรัฐ ซึ่งทำให้รายได้ลดลง ร้อยละ 59 พร้อมกับสร้างความเครียดความวิตกกังวล และความไม่ไว้วางใจกันภายในครอบครัวและชุมชน รวมถึงสร้างภาระหนี้สินต่อเนื่องภายหลังการระบาด ทั้งนี้ การบรรเทาความเดือดร้อน เยียวยา และฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของคนเก็บของเก่า หรือรับซื้อขายของเก่าในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลต้องชดเชยรายได้ให้กับคนทำงานให้เพียงพอ และควรให้ความช่วยเหลือปัญหาภาพรวมของคนทำงานที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเผชิญร่วมกัน ในขณะที่การฟื้นฟูภายหลังการระบาดจำเป็นต้องส่งเสริมการรวมกลุ่มของกลุ่ม รวมรวมข้อมูล ปัญหาอุปสรรค ความต้องการ และให้การส่งเสริม สนับสนุน และฟื้นฟูตรงตามความต้องการของกลุ่ม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์