ว่าด้วยเพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex)
Main Article Content
บทคัดย่อ
เรื่องเพศเป็นสิ่งที่น่าฉงนยิ่งนัก เพราะเป็นสิ่งที่เกิดมีตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่คงอยู่คู่กับมนุษยชาติยาวนานเท่ากับการมีอยู่ของมนุษย์ ทว่า เรื่องเพศที่เป็นสิ่งที่สุดแสนจะธรรมดา ธรรมชาติ หรือเรียบง่ายที่สุด กลับถูกจัดให้อยู่ในระบบระเบียบต่าง ๆ ในบางยุคสมัยก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่ต้องมีเงื่อนไขบางประการร่วมในบางยุคกลับกลายเป็นสิ่งที่เลวร้าย และถูกเบียดขับไว้ไม่ให้ถูกกล่าวถึง หรือหากมีการกล่าวถึง บุคคลที่กล่าวนั้น หรือสถานที่ ๆ กล่าวเรื่องเพศนั้นก็จะกลายเป็นคนชั่วร้าย หรือสถานที่ ๆ จะต้องถูกสังคมปกปิด
แม้ว่าประเด็นเรื่องเพศจะได้รับการศึกษา วิจัย ถกเถียงในแวดวงวิชาการอย่างเป็นลำดับตลอดระยะเวลาของการมีอยู่ของเพศ ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศด้วย ถึงกระนั้นประเด็นเรื่องเพศก็มักถูกพูดถึงในฐานะเรื่อง “ลับ” มากกว่าจะถูกถกเถียงในฐานะการแสวงหาความรู้และความจริง จะสังเกตว่าในทุก ๆ การพูดถึงเรื่องเพศจึงจำเป็นต้องนำไปรวม ไปผนวก แอบอิงกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์มากกว่าการกล่าวถึง หรือเป็นการวิจัยสังคมผ่านเรื่องเพศ ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะบอกว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง