การพัฒนากลไกเชิงสถาบันและกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลไกเชิงสถาบันการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนของไทย 2) ศึกษาแนวทางและมาตรการด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนชายแดนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศในมิติด้านกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเขตเศรษฐกิจพิเศษแนวชายแดนของไทยจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้กรอบการวิเคราะห์แบบ CATWOE ตามกระบวนการวิจัยที่เรียกว่า Soft System Methodology (SSM)
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลไกเชิงสถาบันในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่เป็นเพียงกลไกการประสานนโยบาย และยังขาดกลไกขับเคลื่อนนโยบายในลักษณะของหน่วยงานประจำ (2) หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 ส่งผลให้ทุกภาคส่วนตระหนักว่า แนวทางและมาตรการด้านสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ (3) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับกลไกการปรึกษาหารือภายในประเทศและระหว่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์