นางทรง: บทบาทการเปลี่ยนแปลงเชิงอำนาจ ในพิธีกรรมการบูชากู่บ้านเมย อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในชุมชนบ้านเมย อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น มีประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานคือ ประเพณีบุญกู่ เป็นการบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และผีบรรพบุรุษที่สถิตในโบราณสถานกู่บ้านเมย ปรากฏความเชื่อการผสมผสาน
ทางศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และนางทรง (ศาสนาผี) โดยมีบทบาทในการเสี่ยงทายชะตาชุมชนและฟ้าฝนผ่านพิธีกรรมก่อนฤดูกาลทำการเกษตรกรรม บทความวิชาการชิ้นนี้จึงเป็นการศึกษาบทบาทการเปลี่ยนแปลงของนางทรงในพิธีกรรมบุญกู่ ชุมชนบ้านเมย อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพทางด้านคติชนวิทยา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและรูปแบบมุขปาฐะจากกลุ่ม จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำ การประกอบพิธีกรรมและปราชญ์ชาวบ้าน พร้อมด้วยการทบทวนเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทเชิงอำนาจของนางทรงมีการเปลี่ยนแปลงไปต่างจากเดิมเพราะภายใต้บริบทสังคม เนื่องจากเหตุปัจจัยหนึ่งมาจากนางทรงไม่สามารถที่จะกลืนกลายผสมผสานกับพระพุทธศาสนาที่เป็นศาสนาศรัทธานิยมกระแสหลักของชุมชนได้ รวมถึงปัจจัยจากภายนอกในระบบทุนนิยมสมัยใหม่ส่งผลให้นางทรงเป็นเพียงความเชื่อเฉพาะกลุ่มจนเปลี่ยนแปลงจางหายไปจากประเพณีบุญกู่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง