บทบาทในการจัดการขยะโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันชุมชนเมืองในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นจนอยู่ในภาวะวิกฤต ทำให้เทศบาลต้องเตรียมความพร้อมในการร่วมมือกับเอกชนจัดสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติในการคัดแยกขยะของชุมชน 2) ศึกษาบทบาทในการจัดการขยะของชุมชน และ 3) เสนอแนวคิดการจัดการขยะที่สามารถนำมาหมุนเวียนและสร้างมูลค่าได้จากชุมชนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับระบบการจัดการขยะที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้วิธีทางสถิติจากกลุ่มเป้าหมายที่มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง 4 ชุมชน ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในย่านที่มีความแตกต่างกันภายในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วยแบบสอบถามและจัดประชุมกลุ่มย่อย
ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติในการคัดแยกขยะชาวชุมชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการคัดแยกขยะทุกรูปแบบ มีการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์และขาย และมีการจัดการขยะในบ้านเรือนและชุมชนเพื่อรอเทศบาลและเอกชนมาเก็บขน ปัญหาสำคัญคือ ขยะที่ไม่ได้รับการแยกอย่างถูกวิธีที่มีประชาชนจากที่อื่นนำมาทิ้ง โดยแนวคิดในการนำขยะไปหมุนเวียนและสร้างมูลค่า ภาครัฐจะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับเอกชนทั้งผู้รับซื้อขยะรีไซเคิล ผู้ผลิตเชื้อเพลิง ผู้ผลิตปุ๋ยหมักเกษตรกรผู้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยสร้างระบบและกลไกที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของขยะระหว่างกันได้ การศึกษานี้เป็นการสร้างกรอบแนวคิดเสนอแนะต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปกำหนดวิธีการจัดการขยะรีไซเคิลที่สร้างมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง