ความเสี่ยงข้ามพรมแดนและการกำกับดูแลอนาคตร่วมกันของอาเซียน: กรณีพลังงานข้ามแดน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป็นที่ชัดเจนว่าชีวิตของเรานั้นขาดพลังงานไม่ได้ การใช้พลังงานนั้นถือเป็นเรื่องพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญ เหมือนกับการหายใจหรือการมีเลือดลมเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต การใช้พลังงานบางครั้งเราทราบกันดีว่า เราจำเป็นต้องอาศัยพลังงานหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิตของเรา และเวลามีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน สิ่งที่ต่างเป็นที่ยอมรับกันคือ การต้องดูแลจัดการผลกระทบให้ดี การป้องกันไม่ให้สร้างปัญหาและความเดือดร้อน แต่ทว่าความเดือดร้อนหลายประการที่เป็นผลกระทบที่สามารถป้องกันได้ก็เกี่ยวข้องกับภาควิชาการด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องของความรู้และการเอาใจใส่ระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างโครงการกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งบางกรณีผู้ได้รับผลกระทบไม่ใช่ผู้ที่อยู่ใกล้หรือรับรู้ได้ แต่เป็นผู้ที่อยู่ห่างไกลการรับรู้ของผู้คนส่วนใหญ่ว่าพวกเขาเหล่านั้นได้รับผลกระทบเพราะฉะนั้นภาควิชาการจำเป็นต้องมีความเท่าทันกับการศึกษาผลกระทบและทำให้งานวิชาการเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจึงสร้างประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์